การทบทวนแนวทางปฏิบัติในการวิจัยประเภทกรณีศึกษาเชิงร่วมสมัย (NIC NIDA 2024)

การทบทวนแนวทางปฏิบัติในการวิจัยประเภทกรณีศึกษาเชิงร่วมสมัย (NIC NIDA 2024)

การเสวนา “การทบทวนแนวทางปฏิบัติในการวิจัยประเภทกรณีศึกษาเชิงร่วมสมัย” Revisiting the Contemporary Case Study Research Practices (NIC NIDA 2024)

Panelists:

1) Assoc. Prof. Judhaphan Padungchewit, Ph.D., NIDA, Thailand
2) Assoc. Prof. Jongsawas Chongwatpol, Ph.D., NIDA, Thailand
3) Assoc. Prof. Danuvasin Charoen, Ph.D., NIDA, Thailand
4) Asst. Prof. Thasanee Satimanon, Ph.D., NIDA, Thailand

สรุปโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิสาขา ภู่จินดา

การทบทวนแนวทางปฏิบัติในการวิจัยประเภทกรณีศึกษาเชิงร่วมสมัย (NIC NIDA 2024)

            ในช่วงบ่ายของวันที่ 22 สิงหาคม 2567 การเสวนาหัวข้อ “Revisiting the Contemporary Case Study Research Practices” เริ่มต้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑาพรรธ์  ผดุงชีวิต คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร เกริ่นนำประเด็น Introduction to the Postulations of  Case Study Research และการเรียนการสอน The Value of  Participatory and Collaborative Learning/ Participant Identification (การระบุกลุ่มผู้เรียน) / Material Logistics (กระบวนการตั้งแต่การเลือกกรณีศึกษาไปจนถึง Serviceability in Classroom) จากนั้นกล่าวถึง กรณีศึกษาเพื่อการสอน (Teaching Case Study) โดยแบ่งเป็นประเภท Decision Case, Evaluative/Descriptive/Appraisal Case,และ My Exemplars โดยกรณีศึกษาเป็นการเน้น problem-based learning หากกรณีศึกษาได้รับการถ่ายทอดอย่างดี ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงความคิดและปิดช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ ถือเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ (learning tools) และสามารถต่อยอดทฤษฎีหรือสร้างและพัฒนาสมมุติฐานได้

การทบทวนแนวทางปฏิบัติในการวิจัยประเภทกรณีศึกษาเชิงร่วมสมัย (NIC NIDA 2024)

            นอกจากนี้ กรณีศึกษาไม่ได้เป็นเพียงเทคนิควิจัยทั่วไป แต่ถือเป็นวิธีการเก็บข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในมุมมองของสังคมศาสตร์ โดยข้อมูลเชิงลึกนี้จะช่วยให้สามารถศึกษา อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การสรุปแนวทางในการตัดสินใจ การประเมิน หรือการแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ การวิเคราะห์กรณีศึกษาแบบเชิงคุณภาพยังครอบคลุม 7 มุมมองที่น่าสนใจ พร้อมด้วยโครงเรื่องใน 3 มิติหลัก ได้แก่

  • มิติการวิเคราะห์
  • มิติทฤษฎี
  • มิติการนำเสนอข้อมูล

            โดยกรณีศึกษาจะถูกจัดวางในโครงสร้างที่ชัดเจน ได้แก่ ส่วนเริ่มต้น (Opening Section) เนื้อหาหลักของกรณีศึกษา (Main Body of Case) ส่วนสรุปปิดท้าย (Closing Section) และภาคผนวก (Addendum of Exhibits) เพื่อให้การนำเสนอครบถ้วนและครอบคลุมทุกประเด็น

            โดยในช่วงสุดท้าย รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑาพรรธ์  ผดุงชีวิต ได้กล่าวถึงประเด็น Ethics of Administering Case Study Research ของการวิจัย ที่ต้องอาศัยความร่วมมือด้านความคิดเห็นและสถานการณ์ของ บุคคลกลุ่มต่าง ๆ เมื่อนำข้อมูลมาตีแผ่ บุคคลอาจเสี่ยงต่อการเปิดเผยตัวและเกิดความอับอายที่อาจเกิดขึ้นได้

            บรรยากาศในการเสวนาครั้งนี้ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายมิติ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ ซึ่งได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านมาอภิปรายในเรื่อง การวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Revisiting the Contemporary Case Study Research Practices)

            หลังจากนั้นจึงเป็นการจัดกิจกรรม Case Study Workshop หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการกรณีศึกษา โดยมีการแบ่งผู้เข้าร่วมอบรมเป็น 3 กลุ่ม โดยวิทยากร 4 ท่าน ต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้คิดวิเคราะห์และตัดสินใจแก้โจทย์กรณีศึกษาที่สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการใช้งานจริงหลังฝึกอบรม โดยมีแนวทางในการใช้โจทย์กรณีศึกษา โดยให้ผู้อบรมมาแลกเปลี่ยนประเด็นกรณีศึกษาในองค์กรของตนเอง ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 (Group 1) :  Case Study 1 มีการแลกเปลี่ยนประเด็นทางวิชาการดังต่อไปนี้

1) Training the Teaching Team for Japanese Language Acquisition Programme: A Case Study at The K-6 Demonstration School of Naresuan University (การฝึกอบรมทีมผู้สอนสำหรับโปรแกรมการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น: กรณีศึกษาที่โรงเรียนสาธิตระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มหาวิทยาลัยนเรศวร)

2) Implementing Gender Inclusive Policy in the Anthropocene: Case Study of Rural Women Community in Chiang Khong District (Chiang Rai, Thailand) (การนำนโยบายที่ครอบคลุมความเท่าเทียมทางเพศมาใช้ในยุคแอนโทรโพซีน: กรณีศึกษาชุมชนสตรีชนบทในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย)

3) Capacity Assessment: Organizational management towards Social and Environmental Sustainability in Myanmar (การประเมินขีดความสามารถ: การจัดการองค์กรเพื่อความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในประเทศเมียนมา)

4) Co-creation Based Storytelling to Shape Tourist Experiences in the Sikka Ikat Weaving Community, Flores, Indonesia (การเล่าเรื่องที่อิงการร่วมสร้างสรรค์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในชุมชนทอผ้าอิกัตซิกกา เกาะฟลอเรส ประเทศอินโดนีเซีย)

กลุ่มที่ 2 (Group 2) :  Case Study 2 มีการแลกเปลี่ยนประเด็นทางวิชาการดังต่อไปนี้

1) Sustainable Transformation Strategies for Mitigating Socio Economic Challenges of Rural to Urban Migration in Developing Countries. A Case Study: Garment Factories in Hlaing Thar Yar Township, Yangon City, Myanmar (กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนเพื่อลดความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมจากการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมืองในประเทศกำลังพัฒนา: กรณีศึกษาโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในเขตเมืองหรั่งทาร์ยาร์ เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา)

2) The Implication of Thai BCG model and stakeholder pressure: a case study from the company perspective (ผลกระทบของโมเดล BCG ของประเทศไทยและแรงกดดันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: กรณีศึกษาจากมุมมองของบริษัท)

3) The Impact of Tourism Industry 4.0 Advancement on Curriculum Changes in Tourism Higher Education: An Institutional Theory Perspective (ผลกระทบของความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 4.0 ต่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านการท่องเที่ยว: มุมมองตามทฤษฎีสถาบัน)

4) Design and Development of a User-Centric Mobile Application to Promote Sustainable Hydration and Reduce Single-Use Plastic Water Bottle Consumption: A Case Study of Chulalongkorn University (การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือที่มุ่งเน้นผู้ใช้เพื่อส่งเสริมการดื่มน้ำอย่างยั่งยืนและลดการใช้ขวดน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

5) Pathways to Digital Engagement in Policy Making across China (เส้นทางสู่การมีส่วนร่วมทางดิจิทัลในการกำหนดนโยบายในประเทศจีน)

กลุ่มที่ 3 (Group 3) :  Case Study 3 มีการแลกเปลี่ยนประเด็นทางวิชาการดังต่อไปนี้

1) Turning Supra-University Mandates to Actions: Unit-based Administrative Perspectives to Policy Practice in Uncertain Times (เปลี่ยนข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยข้ามชาติให้เป็นการปฏิบัติ: มุมมองการบริหารจัดการตามหน่วยงานต่อการปฏิบัตินโยบายในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน)

2) Planting seeds of Change-Women-led Eucalyptus farming for a sustainable future in Thailand (การปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งการเปลี่ยนแปลง: การปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยผู้หญิงเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนในประเทศไทย)

3) Pursuing Low Carbon Emissions: Does Local Action at the Secondary City Scale Make Sense: The Case of Samut Sakhon Thailand (การลดการปล่อยคาร์บอนต่ำ: การดำเนินการในระดับเมืองรองมีความหมายหรือไม่: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย)

4) Leveraging Artificial Intelligence to Enable Political Leadership in Emerging Economies of South Asia to Alleviate Poverty (การใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์เพื่อสนับสนุนความเป็นผู้นำทางการเมืองในเศรษฐกิจเกิดใหม่ของเอเชียใต้เพื่อลดความยากจน)

5) Beyond the Democratic Assumption(s): Potentials of Participant Observation and Meaning Making to Critical Policy Research (เหนือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับประชาธิปไตย: ศักยภาพของการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสร้างความหมายต่อการวิจัยนโยบายเชิงวิพากษ์)

            การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เน้นการใช้กรณีศึกษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ช่วยเชื่อมโยงทฤษฎีกับการปฏิบัติ พร้อมทั้งแสดงถึงความสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพในด้านสังคมศาสตร์ รวมถึงการจัดกิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาผ่านกรณีศึกษาต่าง ๆ ในกลุ่มผู้เข้าอบรมและแบ่งปันประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ การนำเสนอกรณีศึกษาในหัวข้อต่าง ๆ ในครั้งนี้จึงสามารถเชื่อมโยงกับหลายเป้าหมายของ SDGs ที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน