โดย อ.ดร.พรพรหม สุธาทร คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ประการ สามารถแบ่งแยกย่อยออกมาได้ 3 มิติหลักๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เรานำเป้าหมายนี้ไปใช้ในการพัฒนาทุกภาคส่วนในประเทศ
สวัสดีครับ ผม ดร.พรพรหม สุธาทร อาจารย์ประจำคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า
ความยั่งยืนหรือการพัฒนาที่ยั่งยืนเราได้ยินคำนี้กันมากขึ้นในช่วงนี้ใช่ไหมครับ
คำนิยามของคำว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ถูกนิยามโดยคณะกรรมาธิการโลก ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น คือการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน โดยไม่ทำให้การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นถัดไปนั้นลดลง ก็คือสิ่งใดที่เราสามารถมีในวันนี้ คนรุ่นหลังก็ต้องสามารถมีได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันเราใช้แนวคิดความยั่งยืนเหล่านี้ ในหลายๆด้าน เพื่อที่จะดูแลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล เพื่อที่เราจะส่งต่อสิ่งที่เรามีในวันนี้ให้คนยุคถัดไปให้มีอย่างเช่นเดียวกัน
จริงๆแล้วโลกของเรา ไม่ได้สนใจเรื่องความยั่งยืนกันแค่ในยุคนี้ จริงๆแล้วเราสนใจเรื่องนี้มากันหลายทศวรรษแล้ว ครั้งแรกที่มีการพูดถึงเรื่องราวเหล่านี้ในเวทีระดับนานาชาติ ก็คือการประชุมขององค์การสหประชาชาติที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในปี 1972 ผู้นำจากประเทศทั่วทุกมุมโลกมาตกลงร่วมกันและเห็นความสำคัญในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและเห็นตรงกันว่าการปกป้องสิ่งแวดล้อมนี้เป็นการปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ด้วย
หลังจากนั้นก็มีการจัดการประชุมขององค์การสหประชาชาติติดตามเรื่องนี้มาเป็นระยะหนึ่ง สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้างแต่พอมาถึงจุดหนึ่งที่โลกของเราเผชิญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง อุณหภูมิโลกของเราสูงขึ้นอย่างมาก รวมถึงมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วนทั่วโลก ผู้นำจากทั่วโลกเลยได้มาประชุมกันอีกครั้ง ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2013 แล้วก็มาตกลงกัน จนได้มาทั้งหมด 17 ประเด็น ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เรารู้จัก 17 ข้อนั้น ในชื่อว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals หรือเรียกสั้นๆว่า SDGs เป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ประการ สามารถแบ่งแยกย่อยออกมาได้ 3 มิติหลักๆ
มิติแรกก็คือมิติของทางด้านสังคมหรือว่า Social เป้าหมายที่ หนึ่ง คือการขจัดความยากจน สอง คือขจัดความหิวโหย สาม คือการมีหลักประกันทางด้านสุขภาพ สี่ คือการมีคุณภาพการศึกษาที่ดี และ ห้า คือ การมีความเท่าเทียมทางเพศ
มิติที่ 2 คือมิติทางด้านเศรษฐกิจหรือ โปรฟิค ประกอบไปด้วยเป้าหมาย SDGs ที่ 7 ถึง 11 เริ่มตั้งแต่การสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ ต่อมาก็คือเรื่องของการที่คนในสังคมมีงานที่เหมาะสม มีความหมายแล้วก็เศรษฐกิจที่เติบโต ต่อมาคือ การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมรวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน และเรื่องของการลดความไม่เสมอภาคในสังคม รวมไปถึงการสร้างเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน
และมิติหลักที่ 3 มิติทางด้านสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วย การมีน้ำที่สะอาดใช้การมี การวางแผนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change และการรักษาทรัพยากรในน้ำ รวมถึงระบบนิเวศบนบก
เราจะเห็นได้ว่าเป้าหมาย SDG 15 ข้อที่ผ่านมานั้น จะประกอบไปด้วย 3 มิติที่สำคัญ แต่ใน SDG 16 และ 17 ที่เป็น สอง ข้อสุดท้ายนั้นเป็นการเสริมสองมิติที่ทำให้ 3 มิติแรก สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นประกอบด้วยเป้าหมายที่ 16 คือ การส่งเสริมสันติภาพและความยุติธรรมทั้งโลก รวมไปถึงเป้าหมายที่ 17 เป็นความร่วมมือและ partnership ระดับนานาชาติ
เราจะเห็นได้ว่าเป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ประการนี้ ส่งเสริม ทำให้เราสามารถที่จะมีความยั่งยืนในทุกภาคส่วนในสังคมและสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เรานำเป้าหมายนี้ไปใช้ในการพัฒนาทุกภาคส่วนในประเทศ วันนี้ทุกองค์กรเริ่มต้นในการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้วคุณล่ะครับเริ่มต้นสิ่งนี้แล้วหรือยังครับ