660206bcg banner

“BCG พอเพียง” Series EP:1 ฟาร์มลุงรีย์ (Uncle Ree Farm : Turning Food Waste into Farm Wealth)

“BCG พอเพียง” Series EP:1 ฟาร์มลุงรีย์ (Uncle Ree Farm : Turning Food Waste into Farm Wealth)

โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา : ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง

BCG ภาคเกษตรและอาหาร/ เศรษฐกิจหมุนเวียน

– – – – – – – – – –

ฟาร์มเกษตรเนื้อที่จำกัดกลางกรุงเทพฯ โมเดลธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนขนาดเล็ก ที่เปลี่ยนขยะอาหารเป็นต้นทุนเลี้ยงไส้เดือนเพื่อพัฒนาดิน โดยน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มาเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและสร้างการหมุนเวียนทรัพยากรในทุกหน่วยการผลิต ต่อยอดสู่การผลิตวัตถุดิบอาหารด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ & Smart IoT สู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและยั่งยืน เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการใช้ธรรมชาติแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกรวน (Nature-based solutions)

จุดเริ่มต้น: 

          ผู้กำกับศิลป์ที่ผันตัวมาเป็นเกษตรกรจัดการกับปัญหาใหญ่ – เศษอาหารและคุณภาพดิน – โดยใช้วิธีแก้ปัญหาที่เล็กที่สุด คือ การเลี้ยงหนอนด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อปี 2554 ชารี บุณยวินิจ ผู้ก่อตั้งฟาร์มลุงรีย์ ตัดสินใจเปลี่ยนโรงจอดรถเป็นฟาร์มเลี้ยงไส้เดือน โดยใช้เศษผักและผลิตปุ๋ยหมักสำหรับทำฟาร์ม ทุกๆ ปี ลุงชารีและไส้เดือนหลายล้านตัวจะเปลี่ยนเศษอาหารประมาณ 2,000 ตัน ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ให้กลายเป็นดินที่มีคุณภาพสำหรับเกษตรกรในเมือง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ลุงชารีได้เปลี่ยนงานอดิเรกให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ “ชาหนอน” เห็ดสดและผักใบเขียว รวมถึง “ชุดถังขยะชีวภาพ” สำหรับทำปุ๋ยหมักเศษอาหาร

ขยายผล: 

          ฟาร์มลุงรีย์สร้างเครือข่ายเกษตรกรใหม่ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือนโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมมือกับท้องถิ่นที่เกาะสมุยเพื่อนำเศษอาหารกลับมาใช้ใหม่ และแบ่งปันความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้กับธุรกิจ เช่น Exofood Thailand การผสมผสานเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเข้ากับความรู้พื้นฐานคือแนวทางสำหรับเกษตรกรในยุคนี้ ลุงชารีกล่าวว่า “ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ต้องรู้จักใช้แมลงกำจัดศัตรูพืชในการทำเกษตรแบบปลอดสารเคมี เราต้องรู้จักบำรุงและพัฒนาดินให้มีคุณภาพดีโดยธรรมชาติ” เริ่มต้นจาก “ไส้เดือน” ปัจจุบัน ลุงชารีทำงานร่วมกับแมลงนักล่าและตัวเบียนที่ทำหน้าที่เหมือนยาฆ่าแมลงตามธรรมชาติ และกิ้งกือกระสุนที่ช่วยย่อยสลายซากพืช รวมถึงเพาะเลี้ยงแมลงเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงต่างถิ่น 

Smart Farm:

         ลุงชารีใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองเพื่อกรองไส้เดือนออกจากดิน ด้วยความช่วยเหลือจาก AIS และ iPad รวมถึงการใช้ Internet of Things (IoT) จัดการงานต่างๆ ในฟาร์ม เช่น การตรวจสอบความชื้นในดินและอุณหภูมิในห้องเพาะเห็ดด้วยความแม่นยำ

เศรษฐกิจพอเพียง: 

         ลุงชารีมองว่างานของเขาเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำได้จริง “ชาวนาในเมืองและชาวนาในชนบทมีความแตกต่างกันอย่างปฏิเสธไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ผมไม่มีที่ดินมากมายสำหรับทำการเกษตรเหมือนคนในชนบท แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเราทั้งคู่ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน หมายถึงการใช้ความรู้ เหตุผล และคุณธรรม ความรู้ของผมในการเลี้ยงไส้เดือน และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพคือหัวใจในการทำงาน ผมใช้เครือข่ายที่ค่อย ๆ สร้าง มาสนับสนุนธุรกิจทั้งหมดให้เติบโตไปด้วยกัน หากมีโครงการที่ผมสามารถทำได้ในฟาร์มของตัวเอง ผมก็จะทำ แต่ถ้ามีโปรเจกต์เยอะเกินไป ผมก็จะเลื่อนออกไปบ้าง หรือถ้าใครมีโครงการที่ต้องการความช่วยเหลือ ผมก็สามารถช่วยให้คำปรึกษาได้”

ท่านใดสนใจรายละเอียด อ่านเพิ่มเติมจากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ – ง่ายๆ – ข้างล่างได้เลยค่ะ

#SDG12 #SDG13 #SDG15

#SuDSESC #Nida  #NIDAThailand 

“BCG พอเพียง” Series EP:1 ฟาร์มลุงรีย์ (Uncle Ree Farm : Turning Food Waste into Farm Wealth)
“BCG พอเพียง” Series EP:1 ฟาร์มลุงรีย์ (Uncle Ree Farm : Turning Food Waste into Farm Wealth)
“BCG พอเพียง” Series EP:1 ฟาร์มลุงรีย์ (Uncle Ree Farm : Turning Food Waste into Farm Wealth)
“BCG พอเพียง” Series EP:1 ฟาร์มลุงรีย์ (Uncle Ree Farm : Turning Food Waste into Farm Wealth)
“BCG พอเพียง” Series EP:1 ฟาร์มลุงรีย์ (Uncle Ree Farm : Turning Food Waste into Farm Wealth)