BCG: Energy, Material, Chemical, Agriculture & Food
โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง
ธุรกิจขนาดใหญ่ที่เพิ่มมูลค่ามันสำปะหลัง โดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมมาแปรรูป “แป้งมัน” พัฒนาให้เป็นสินค้าใหม่ที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยจัดตั้งโครงการสมาชิกเกษตรกร ให้ความรู้ในการปลูก การป้องกันศัตรูพืช การใช้เทคโนโลยีเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิต อีกทั้งยังสร้างกระบวนการ Fair Trade รับซื้ออย่างเป็นธรรมเพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้เกษตรกรในพื้นที่
BCG Series เดือนกันยายนนี้ จะพาผู้อ่านมารู้จักกับตัวอย่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ดำเนินการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสนับสนุนการขับเคลื่อนกลยุทธ์ BCG เริ่มจากบริษัท Siam Modified Starch (SMS) ที่จังหวัดบุรีรัมย์.
จุดเริ่มต้น ใช้น้อยได้มาก
Siam Modified Starch เป็นตัวอย่างของการขับเคลื่อนกลยุทธ์ BCG ในหลายระดับ จากการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงด้วยการเปลี่ยนมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของประเทศ ให้กลายเป็นแป้งมันสำปะหลังแปรรูป ซึ่งเป็นวัสดุชีวภาพอเนกประสงค์ โดยใช้งานวิจัยค้นหาแนวทางการใช้ศักยภาพของ ‘แป้งมัน’ อย่างชาญฉลาด ตั้งแต่อาหาร ไปจนถึง กระดาษเคลือบ ตั้งแต่สิ่งทอ ไปจนถึงพลาสเตอร์ก่อสร้าง และยังมุ่งเน้นไปที่กระบวนการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม.
ลดความสูญเสีย ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความยั่งยืน
ดร.วีรวัฒน์ เลิศทวนวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท SMS มองว่า การสร้างภูมิคุ้มกันตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจ โดยใช้ความรอบคอบในการค้นหาและจัดการห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบตั้งต้นที่สั้นกว่าและคุ้มค่ากว่า เน้นใช้การวิจัยและพัฒนาที่นำโดยวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากร โดยกล่าวว่า “ความยั่งยืนสำหรับเราไม่ใช่แค่เรื่องวัสดุชีวภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้พลังงานทั้งหมดด้วย แนวคิดทางธุรกิจของเราคือการผสมผสานระหว่าง BCG กับพลังงานสะอาด … เกษตรกรเป็นฝ่ายแพ้ในห่วงโซ่อุปทานมาโดยตลอด เราจึงจัดทำโครงการสมาชิกที่สนับสนุนเกษตรกรผ่านการศึกษาและเทคโนโลยี …
ในฐานะสมาชิกของ Thailand Carbon Neutral Network จากภาคสนามสู่ห้องปฏิบัติการสู่โรงงาน SMS มุ่งมั่นลดการใช้พลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันผลิตคาร์บอนประมาณ 160,000 ตันต่อปี และให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 30% ภายในปี 2573 และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
จากพลังงานกว่า 1,000 ล้านเมกะจูลที่ใช้ไปในหน่วยการผลิตของโรงงานทั้งสามแห่งในแต่ละปี ประมาณ 60% ได้มาจากแหล่งที่ไม่ใช่ฟอสซิล เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และก๊าซชีวภาพ ตัวอย่างเช่น โรงงานที่บุรีรัมย์ของ SMS ผลิตก๊าซชีวภาพภายในโรงงาน โดยสกัดและกักเก็บมีเทน รวมถึงก๊าซอื่นๆ จากขยะมูลฝอยและน้ำเสียที่ผลิตขึ้น ซึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นพลังงานให้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงงาน บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 ด้วยวามมุ่งมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจหมุนเวียนและแนวทางปฏิบัติด้านพลังงานสีเขียว เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบฟอกน้ำที่ดูดซับมลพิษอนินทรีย์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อจัดการกับปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น
#SDG8 #SDG9 #SDG12 #SuDSESC #Nida #NIDAThailand
ท่านใดสนใจรายละเอียด สามารถอ่านเพิ่มเติมจาก “Thailand’s BCG Transformation: 40 Case Studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” หน้า 136 -141 ข้างล่าง





