โดย อ.ดร.ภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์ คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ในหลายประเทศเขาจะออกแบบเมืองเพื่อให้คนกลุ่มเหล่านี้ ได้มาใช้พื้นที่สาธารณะ ในขณะที่ประเทศไทยเราจะเห็นภาพใช่ไหมครับ ว่าหลายๆครั้งผู้สูงอายุมักจะเลือกที่จะอยู่กับบ้าน มากกว่าที่จะออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านเพราะว่าการใช้ชีวิตนอกบ้านต้องประสบปัญหาความยากลำบากต่างๆ
ในส่วนสุดท้ายของ SDGs ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้สูงอายุคือ การออกแบบเมืองที่ดี การออกแบบเมืองที่ดีเวลาเราพูดถึงในเรื่องของ SDGs หรือว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืน บางครั้งเราจะนึกถึงแต่เฉพาะในเรื่องของสิ่งแวดล้อม นึกถึงเฉพาะเรื่องของการจราจรไม่ติดขัด นึกถึงเรื่องการประหยัดพลังงาน แต่จริงๆ แล้วการออกแบบที่ดีในเรื่องของ SDGs ยังรวมถึงการออกแบบเมืองเพื่อคนทุกคนด้วย

ตัวอย่างเช่นอะไร เช่นการมีทางลาด การมี universal design ให้กับคนทุกกลุ่มวัย ให้กลุ่มเปราะบางต่างๆไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ผู้พิการ รวมถึงผู้สูงอายุสามารถใช้เมืองได้อย่างเต็มที่ สามารถออกจากบ้านได้ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งหลายๆ เมืองในประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจของสูงจะเห็น ว่าเขาจะออกแบบเมืองเพื่อที่จะให้คนกลุ่มเหล่านี้ที่มาใช้พื้นที่สาธารณะได้ออกจากบ้าน ในขณะที่ในของประเทศไทยเราจะเห็นภาพใช่ไหมครับว่า หลายๆ ครั้งผู้สูงอายุมักจะเลือกที่จะอยู่กับบ้านมากกว่าที่จะออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน เพราะว่าการใช้ชีวิตนอกบ้านต้องประสบปัญหาความยากลำบากต่างๆ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ประเด็นต่างๆ ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบประกันสุขภาพระบบต่างๆที่ดี เรื่องของเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาความยากจน การศึกษาการเมืองที่ดี การมีส่วนร่วมต่างๆ รวมถึงความเท่าเทียมด้วย อาจจะดูไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้สูงอายุโดยตรง

อย่างไรก็ตาม เราพยายามชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายเหล่านี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเด็นเรื่องผู้สูงอายุในการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญ สังคมทั่วโลกกำลังตระหนักถึงปัญหาเรื่องของผู้สูงอายุ และประเทศไทยเองก็รับเอาแนวความคิดนี้มาสู่สังคมไทย และมีการประกาศให้เรื่องของผู้สูงวัยหรือผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในวาระของชาติ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อจะดูแลเรื่องของผู้สูงอายุ นอกจากนั้นยังมีสวัสดิการต่างๆที่เตรียมให้กับผู้สูงอายุมากมาย เช่น เรื่องของการลดราคาค่าบริการต่างๆ การให้เบี้ยผู้สูงอายุ รวมถึงการบริหารจัดการสวัสดิการต่างๆให้ ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุไปเที่ยวหรือไปพักผ่อนหลายครั้งได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่าย ในกรณีของประเทศไทยเรายังคงมุ่งเน้นในส่วนของเรื่องของรายได้ของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพ และเรื่องของนันทนาการต่างๆ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีผู้สูงอายุจำนวนมากเช่นประเทศญี่ปุ่นหรือยุโรปตะวันตก จะมีนวัตกรรมทางสังคมใหม่ๆเข้ามาก็จะดูแลผู้สูงอายุ เช่น ในส่วนของการดูแล ในประเทศญี่ปุ่น ชุมชนหรือท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ

ในขณะที่รัฐบาลกลางลดบทบาทในการดูแลจัดการ หรือการให้องค์กรเอกชนเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการเรื่องบริการของผู้สูงอายุแทนภาครัฐ ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุหลายครั้งเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เหมาะกับที่ใช้คนในชุมชนบริหารจัดการกันเองมากกว่า รวมถึงเอกชนก็มีความชำนาญมมากกว่าหน่วยงานภาครัฐ ในบางประเด็นของของการจัดการสังคมสูงวัย ซึ่งประเทศไทยก็มีการดำเนินการเช่นเดียวกัน เราจะเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายพื้นที่ เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุซึ่งเราคงจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในอนาคต