โดย อ.ดร.ภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์ คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ในอนาคตอันไม่ไกล ประเด็นเรื่องผู้สูงอายุจะมีออกมาอีกมากมาย อันนี้คือเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะเป็นเทรนด์ที่เราอาจจะยังไม่คาดคิดในปัจจุบัน แต่เมื่อความเป็นสังคมผู้สูงอายุเข้มข้นขึ้นเมื่อไหร่ รับประกันว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญเป็นเรื่องดีเบตสำคัญของประเทศไทยอย่างแน่นอนครับ
เรื่องของผู้สูงอายุมันไม่ใช่แค่ในเรื่องของรายได้รายจ่ายหรือว่าในเรื่องของการดูแลคุณภาพชีวิตเพียงเท่านั้น ยังมีอีกหนึ่งที่สำคัญก็คือในเรื่องของข้อกฎหมายเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ในหลายๆประเทศโดยเฉพาะประเทศยุโรปตะวันตก เริ่มมีการแก้กฎหมายเพื่อที่จะซัพพอร์ตผู้สูงอายุแล้ว เราอาจจะไม่ต้องพูดถึงการุณฆาตหรือการให้ผู้สูงอายุสามารถเลือกที่จะสละชีวิตด้วยตัวเอง แต่เรากำลังพูดถึงการจัดการมรดกหลังจากที่ผู้สูงอายุเสียชีวิตลงไป

ในประเทศไทย เรามีลักษณะของการดูแลผู้สูงอายุแบบเครือญาติ ชุมชน หรือว่าครอบครัวยังทำหน้าที่หลักในการดูแลผู้สูงอายุอยู่ เพราะทรัพย์สินหรือมรดกก็ยังใช้ลักษณะของการตกทอดทรัพย์สินต่างๆ ไปยังผู้ที่ดูแล หรือผู้ที่เป็นครอบครัว อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอีกไม่ไกล เราจะเห็นแล้วว่าการมีลูกลดน้อยถอยลงไปมาก ในประเทศไทยอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ทั้งในเรื่องของสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไป ค่านิยมการอยู่เป็นโสด ค่านิยมเรื่องการไม่มีบุตร สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อจำนวนผู้สูงอายุที่ไม่มีทายาทจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ผู้สูงอายุที่ไม่มีทายาทอาจจะมีทรัพย์สินจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีครอบครัวมาดูแล การจะให้มรดกกับใครเพื่อที่จะมาดูแลก็จะเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง ทำให้หลายประเทศเริ่มมีการแก้กฎหมายกับเรื่องของมรดก เช่น การตั้งกองทุนเกษียณหรือว่ากองทุนผู้สูงอายุขึ้นมา คือให้ผู้สูงอายุเอาทรัพย์สินไปไว้ในกองทุนนั้น และกองทุนจะจัดการหาคนมาดูแลให้ เมื่อผู้สูงอายุเสียชีวิตทรัพย์สินเหล่านั้นจะตกเป็นของกองทุนก็ใช้ในการบริหารจัดการผู้สูงอายุอื่นๆ ก็เป็นเรื่องของการจัดการมรดกของผู้สูงอายุหลังจากที่เสียชีวิต ซึ่งสิ่งนี้ในประเทศไทยกำลังมีการถกเถียงกันอยู่ ว่าเมื่อผู้สูงอายุจะสิ้นชีวิตไปบริหารจัดการมรดกยังไง โดยเฉพาะในอนาคตเมื่อเทรนด์ของการมีลูกลดน้อยลง ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวไม่มีใครมาดูแลเลยเจอจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อที่จะมีเงินเพียงพอที่จะเตรียมสวัสดิการต่าง ๆให้กับผู้สูงอายุ รวมถึงมีการจัดการทรัพย์สินผู้สูงอายุที่ดี ป้องกันการโดยที่ผู้สูงอายุโดนหลอกด้วย อันนี้คือเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เพราะฉะนั้น ในอนาคตอันไม่ไกลประเด็นเรื่องผู้สูงอายุโดยจะมีออกมาอีกมากมาย รวมถึง การแก้ไขข้อกฎหมายการแก้ไขระบบสวัสดิ การการแก้ไขลักษณะของเรื่องของบริการสาธารณสุขก็จะมีออกมาอย่างมากมาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของครอบครัวและชุมชน จากเดิมที่ครอบครัวเป็นคนดูแลผู้สูงอายุเป็นหลัก ก็อาจจะต้องเปลี่ยนลักษณะของรัฐบาล เอกชน หรือว่าชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ก็จะเป็นเทรนด์ที่เราอาจจะยังไม่คิดในปัจจุบัน แต่เมื่อความเป็นสังคมผู้สูเข้มข้นขึ้นเมื่อไหร่ รับประกันว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญเป็นเรื่องดีเบตสำคัญของประเทศไทยอย่างแน่นอนครับ