Sustainable Development Goals Ep.2 เริ่มที่รัฐ จบที่ยั่งยืน Part 3

Sustainable Development Goals Ep.2 เริ่มที่รัฐ จบที่ยั่งยืน Part 3

โดย รศ.ดร.ณดา จันทร์สม l ผศ.ดร.ทัศนีย์ สติมานนท์ l ผศ.ดร.สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)”

“การออกแบบแผนงาน โครงการ หรือการออกแบบนโยบายของภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จำเป็นต้องใช้ “วงจรโครงการ” เข้ามาช่วยในการวางแผน โดยแผนงานโครงการ จะต้องครอบคลุม 3 ขั้นตอนของวงจรโครงการ ได้แก่ 1. กระบวนการวางแผนและออกแบบโครงการ 2. การบริหารโครงการ และ 3. การประเมินผลโครงการ

ในส่วนของบทบาทรัฐ ในการที่จะทำนโยบาย หรือออกแบบแผนงานโครงการต่างๆ เพื่อจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อยากจะฝากประเด็นในเรื่องของการใช้วงจรโครงการเข้ามาจับ เพื่อมาดูว่าในเรื่องของการจัดทำนโยบายก็ดี หรือว่าออกแบบแผนงานโครงการภาครัฐก็ดี ก็ควรจะต้องทำให้ครอบคลุม ทั้ง 3 step ของวงจรโครงการที่เราจะเสนอไปก็มีตัวที่หนึ่ง ก็คือเรื่องของกระบวนการในการออกแบบและวางแผนโครงการ แล้วก็ step ที่ 2 หรือขั้นตอนที่ สอง ก็คือในเรื่องของการบริหารโครงการ แล้วก็ขั้นตอนที่ 3  จะเป็นเรื่องของประเมินผลโครงการ 

ในเรื่องของการจัด ออกแบบและวางแผน เป็นหัวใจสำคัญ เพราะว่าถ้าเราสามารถจะคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการที่จะพัฒนาอย่างที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือว่าพัฒนาโดยที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมแล้วก็ในเรื่องของมิติทางด้านสังคมเข้าไปตั้งแต่เริ่มต้น ถ้าเราคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ตั้งแต่ตอนต้น เราสามารถที่จะทำโครงการออกแบบโครงการ แล้วก็ทำให้เกิดกระบวนการวางแผนโครงการสามารถที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ได้ตั้งแต่เริ่มต้นเลย

นอกจากนั้นแล้วในกระบวนการออกแบบโครงการสิ่งสำคัญเลย รัฐต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ความคุ้มค่าที่เราทำโครงการนั้นแล้ว สามารถส่งผลผลิตและผลลัพธ์ได้คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ใส่ลงไป

อันนี้ก็เป็นมิติที่สำคัญในกระบวนการออกแบบและวางแผนโครงการ ส่วนกระบวนการที่ สอง คือเรื่องของการบริหารโครงการหรือบริหารนโยบาย อยากจะมองในประเด็นที่ว่าเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้วก็สามารถที่จะทำนโยบายหรือว่าแผนงานโครงการที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ จริงๆแล้วคงจะต้องมองในประเด็นที่ว่ารัฐเอง สามารถที่จะกระจายในเรื่องของการตัดสินใจ ในกระบวนการบริหารโครงการลงไปสู่ระดับภูมิภาคหรือระดับท้องถิ่นหรือว่าลงไปสู่ระดับหน่วยงานที่เขารับผิดชอบได้มากน้อยแค่ไหน เพราะว่าพอบริหารโครงการไปมันมีลักษณะที่ว่าถ้าหากว่าพื้นที่มีความแตกต่างกัน มันอาจจะต้องการปรับเปลี่ยนให้เกิดความยืดหยุ่นในการที่จะบริหารโครงการให้ตอบสนองต่อสิ่งที่มันแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ได้แต่ละภูมิภาคได้ 

แล้วเราจะต้องเข้ามาพี่บทบาทอะไรบ้าง รัฐจะต้องเข้ามาแก้ปัญหาที่กลไกที่มีอยู่ตามปกติของระบบเศรษฐกิจไม่สามารถทำงานของมันให้เกิดความยั่งยืนได้ ดังนั้นรัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากเลย ในช่วงที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ 

แล้วก็สำคัญอีกประการ หนึ่ง ก็คือว่าในกระบวนการบริหารโครงการเนี้ยเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำความเข้าใจตลอดเวลา แล้วก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนตัวเนื้อหาของโครงการให้ตอบสนองต่อสถานการณ์โดยเฉพาะหน้าได้ อันนี้เป็นเรื่องที่เน้นในเรื่องของความยืดหยุ่นในกระบวนการบริหารแล้วก็ให้เกิดการมีส่วนร่วมกับภูมิภาคแล้วก็ท้องถิ่นมากขึ้น 

ประเด็นสุดท้ายเวลาเราทำนโยบายก็ดีหรือว่าแผนงานโครงการเหล่านี้ก็ดี คงจะต้องคำนึงถึงในเรื่องของการประเมินผลด้วย เพื่อจะได้ดูว่ามันมีบทเรียนอะไรที่เราได้รับจากการดำเนินนโยบายไปบ้าง แล้วเราสามารถนำบทเรียนมาปรับปรุง แล้วก็สามารถที่จะเอาไปใช้เป็นประโยชน์ในเรื่องของบทเรียนที่เราได้จากการทำโครงการต่างๆ แล้วก็สามารถที่จะเอาไปทำสูตรโครงการใหม่ๆในอนาคตได้ ซึ่งตรงมันก็คงจะต้องดำเนินการให้ครบทั้ง 3 วงจร ซึ่งถ้าเราสามารถที่จะเอามิติในเรื่องของการบรรลุเป้าหมายการที่ยืนใส่ลงไปตั้งแต่เริ่มต้น มันก็จะทำให้เราสามารถที่จะมั่นใจได้ว่านโยบายต่างๆหรือแผนงานโครงการของภาครัฐ มันสามารถตอบโจทย์การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จริง 

นอกจากนั้นแล้วเราอาจจะต้องมองในมิติของการประเมินนโยบายแล้วก็ประเมินตัวแผนงานโครงการต่างๆ โดยคำนึงถึงว่าเวลาเรามองว่าโครงการไหนควรจะเป็นโครงการที่เราดำเนินการ จุดเริ่มต้นแรกจะต้องมองว่าโครงการเหล่านั้น มัน relevant ไหม relevant ในแง่ไหน  สอดคล้องไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เราต้องการจะขับเคลื่อนหรือไม่อย่างไร อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นแรกๆ ที่เราคิดว่าถ้าเราจะต้องดูว่านโยบายต่างๆที่รัฐบาลเสมองในเรื่องของ Effectiveness ว่าโครงการที่เสนอมา นโยบายที่เสนอมาจะสามารถนำส่งผลผลิตแล้วก็ผลลัพธ์อย่างที่เราคาดหวังได้จริงหรือไม่ อันนี้ก็จะเป็นสิ่งที่เราใช้เป็นกรอบในการประเมินได้

และเมื่อเราบริหารโครงการไปแล้ว สามารถที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารโครงการเกิดผลผลิตตาม i่nput ที่ใส่เข้าไปแล้วมันคุ้มค่าที่จะดำเนินการต่อไปหรือไม่ 

และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือว่านโยบายนั้นหรือว่าแผนงานโครงการนั้นจะมีความยั่งยืนหรือไม่อย่างไรหมายความว่าจะนำส่งผลผลิต แล้วก็ผลลัพธ์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่งบประมาณ หรือทรัพยากรเข้าไปเพิ่มเติมมากนัก สามารถเกิดความยั่งยืนในการดำเนินโครงการแล้วก็เกิดประโยชน์ตามที่คาดหวังได้อย่างต่อเนื่อง