"นิด้า" สนันสนุนและขับเคลื่อนการเป็นสถานศึกษาปลอดบุหรี่

“นิด้า” สนันสนุนและขับเคลื่อนการเป็นสถานศึกษาปลอดบุหรี่

“บุหรี่” ไม่ได้ทำลายแค่ “ปอด” หลายคนรู้แต่… เลิก “สูบบุหรี่” ไม่ได้

ปัจจุบันคนไทย “เสียชีวิต” ด้วยโรคจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน หากคิดเป็นวันเท่ากับว่า จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่มาจากการสูบบุหรี่ วันละ 142 คน หรือพูดง่ายๆ ได้ว่า ในทุกๆ 1 ชั่วโมงจะมีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 คน นอกจากนี้บุหรี่ไม่ได้ทำลายแค่ตัวผู้ที่สูบโดยตรง แต่ผู้ที่สัมผัส “ควันบุหรี่มือสอง” ก็ได้รับความเสี่ยงเหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะในเด็ก หากได้รับการสัมผัสจะมีความเสี่ยงมากต่อโรคหอบหืดและภาวะทารกแรกเกิดตายอย่างฉับพลัน (SIDS หรือ Sudden Infant Death Syndrome)

สาเหตุการเสียชีวิตของคนกลุ่มนี้โดยส่วนมากมาจาก “โรคหัวใจและหลอดเลือด” 1 ใน 5 โรคร้ายแรงที่เกิดจากการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่ได้ทำให้เกิดเพียงแค่โรคปอด แต่ยังมีโรคอื่นๆ ตามมา ได้แก่

  1. โรคหัวใจและหลอดเลือด (บุหรี่เพิ่มโอกาสของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 2 เท่า)
  2. โรคปอด (บุหรี่เพิ่มความเสี่ยงโรคถุงลมปอดโป่งพอง และเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบตลอดชีวิต)
  3. โรคมะเร็ง (90% ของคนที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด)
  4. โรคกระเพาะอาหาร (บุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร)
  5. โรคกระดูกพรุน (ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ต้องสูญเสียมวลกระดูกและภาวะสะโพกเสื่อมมากกว่าปกติ)
  6. โรคคุกคามอื่นๆ 

ถ้าคุณ “เริ่ม” ที่จะ “เลิก” สูบบุหรี่ได้ จะเป็นอย่างไรบ้าง

  1. เลิกสูบบุหรี่ได้ 1-2 วัน เท่ากับ ความดันเลือดและชีพจรปรับสู่ระดับปกติ
  2. เลิกสูบบุหรี่ได้ 2 วัน เท่ากับ ปอดเริ่มขจัดเสมหะและสิ่งสกปรกต่างๆ จากการสูบบุหรี่ออกไป
  3. เลิกสูบบุหรี่ได้ 3 วัน เท่ากับ กินอาหารได้อร่อยขึ้น เพราะตุ่มรับรสที่ลิ้นทำงานได้ดีขึ้น
  4. เลิกสูบบุหรี่ได้ 4 วัน เท่ากับ อาการอยากบุหรี่ลดลงมา จะรู้สึกสงบและสบายตัวมากขึ้น
  5. เลิกสูบบุหรี่ได้ 3 สัปดาห์ เท่ากับ การทำงานของปอดดีขึ้น อาการไอดีขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้น
  6. เลิกสูบบุหรี่ได้ 2 เดือน เท่ากับ เลือดไหลเวียนไปสู่แขนขาได้ดีขึ้น มีกำลังวังชามากขึ้น
  7. เลิกสูบบุหรี่ได้ 3 เดือน เท่ากับ ระบบการขจัดสิ่งสกปรกในปอดทำงานได้เป็นปกติ ไอน้อยลง หายใจดีขึ้น
  8. เลิกสูบบุหรี่ได้ 1 ปี เท่ากับ ลดความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ครึ่งหนึ่ง
  9. เลิกสูบบุหรี่ได้ 1 ปี เท่ากับ ลดอาการไอแบบมีเสมหะได้อย่างชัดเจน
  10. เลิกสูบบุหรี่ได้ 2 ปี เท่ากับ ลดความเสี่ยงหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
  11. เลิกสูบบุหรี่ได้ 5 ปี เท่ากับ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด และช่วยลดความเสี่ยงแทรกซ้อนในอวัยวะอื่นๆ
  12. เลิกสูบบุหรี่ได้ 5 ปี เท่ากับ สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจขาดเลือด
  13. เลิกสูบบุหรี่ได้ 10-15 ปี เท่ากับ โรคร้ายแรงต่างๆ จากการสูบบุหรี่ลดลง ใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะของสถาบันการศึกษาที่มุ่งสร้างปัญญาเพื่อสังคมและประเทศ ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการเป็นสถานศึกษาปลอดบุหรี่ และอยากเห็นคนไทยสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้มากขึ้น เพื่อกลับมามีสุขภาพที่ดีขึ้น มีรอยยิ้มที่สดใส และสามารถอยู่กับบุคคลอันเป็นที่รักของตนเองได้มากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก

  1. https://www.phyathai.com/article_detail/2975/th/เลิกเถอะ!_สูบบุหรี่…เสี่ยงเป็นโรคร้ายมากมายกว่าที่คิด
  2. https://www.ptnosmoke.com/images/pdf/download/manual/001.pdf