“BCG พอเพียง" Series EP:20 เฮมพ์ไทย Seeds For a New Green Market อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

“BCG พอเพียง” Series EP:20 เฮมพ์ไทย Seeds For a New Green Market อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง

HempThai ธุรกิจขนาดกลางที่ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปกัญชงอินทรีย์ ด้วยแนวคิด Circular Economy เกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน การผลิตแบบไร้ขยะ และการต่อยอดวัสดุอัจฉริยะ เน้นการทำงานร่วมกับเกษตรกรชุมชนอย่างเป็นธรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชาวบ้าน ประยุกต์ใช้ข้อมูลวิจัยเพื่อยกระดับการผลิตกัญชงไปสู่สินค้านวัตกรรม และรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจ สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เมล็ดพันธุ์สำหรับตลาดใหม่สีเขียว
เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดตากใช้กัญชง- วัสดุอเนกประสงค์-ตั้งแต่เปลเด็กไปจนถึงผ้าห่อศพ ซึ่งเมื่อปี 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนับสนุนแนวคิดที่จะให้ชาวเขาเหล่านี้ได้รับใบอนุญาตในการปลูกกัญชงแบบออร์แกนิก ที่ทนทานต่อแบคทีเรีย รา และไรฝุ่น เพื่อเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ ตรงกันข้ามกับการปลูกแบบอุตสาหกรรมที่ใช้สารเคมี

จุดเริ่มต้น
อาทิตย์ ฤทธิ์รวี และดวงฤทัย พุ่มพิเชษฐ์ ป้าของเขา ผู้ร่วมก่อตั้ง HempThai ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากกัญชงที่ยาวนานที่สุดของประเทศ มองเห็นศักยภาพในการผลิตพืชชนิดนี้ของชาวม้งในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก และใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศไทยอนุญาตให้การปลูกกัญชาที่มีสาร THC น้อยกว่า 0.2% เป็นสิ่งถูกกฎหมายในประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม 2563 และเชื้อเชิญให้ผู้ประกอบการสำรวจการประยุกต์ใช้กัญชาในรูปแบบที่ไม่ทำให้มึนเมาหรือที่เรียกว่ากัญชง เพื่อรองรับตลาดในประเทศและต่างประเทศที่กำลังขยายตัว โดยในตลาดไทยคาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 126 ต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า “วิถีการปลูกกัญชงของชาวม้งเป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อนปลูกจะมีการบำรุงดินด้วยปุ๋ยชีวภาพ เช่น มูลไก่ แม้ว่าแมลงจะฆ่าพวกมันก่อนถึงเวลาเก็บเกี่ยว แต่แกนอ่อนของป่านก็ยังสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ เช่น หลอดกาแฟและพลาสติกชีวภาพ” เขากล่าว “ข้อดีอีกอย่างคือกัญชงช่วยดูดซับสารพิษจากดิน กระบวนการบำบัดด้วยพืชหรือใช้พืชเป็นหลักในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนนั้นมีประสิทธิภาพ”

เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน
HempThai ทุ่มเทให้กับการใช้ทุกส่วนของต้นกัญชงเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีของเสีย เช่น เกษตรกรปลูกกัญชงสามครั้งต่อรอบ สองครั้งแรกใช้เวลาปลูกและเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง 90 วัน ส่วนเปลือกใช้ทำเส้นใยสำหรับทอผ้า ระยะปลูกและเก็บเกี่ยวครั้งที่ 3 ใช้เวลา 150 วัน ใช้ในการเก็บช่อดอกหรือกลุ่มดอกบนกิ่งกัญชงเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในรอบการปลูกต่อไป ส่วนที่แข็งของก้านกัญชงจะถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กระดาษใยกัญชง หรือบล็อกคอนกรีตที่เรียกว่า ‘Hempcrete’ แม้แต่น้ำก็ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิตย์อธิบายว่า “เราทำงานร่วมกับทีมวิศวกรในการออกแบบระบบทดน้ำจากบ่อบนยอดเขา แล้วส่งไปตามระบบรางน้ำเข้าสู่ฟาร์ม ส่วนน้ำที่เหลือเก็บไว้ในบ่อในฟาร์มแล้วสูบกลับขึ้นมายังบ่อด้านบนของฟาร์มเพื่อใช้ต่อไป”

SDG1 #SDG8 #SDG12 #SuDSESC #Nida #NIDAThailand

ท่านใดสนใจรายละเอียด สามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ “Thailand’s BCG Transformation: 40 Case Studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” หน้า 94-97 ข้างล่างได้เลยค่ะ