ณ วัดศาลาปูนวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
ในวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 น.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมสร้างบุญกุศลใหญ่ประจำปี โดยร่วมเป็นเจ้าภาพในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ด้วยการบริจาคเงินสมทบตามกำลังศรัทธา
โดยสามารถร่วมบริจาคผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้
- เงินสด บริจาคได้ที่ส่วนสารบรรณและพิธีการ กองบริหารงานกลาง สำนักงานอธิการบดี ชั้น 6 อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ธนาณัติ สั่งจ่าย เคาน์เตอร์ไปรษณีย์นิด้า 00205 ในนาม “ผู้อำนวยการกองบริหารงานกลาง” โปรดจัดส่งธนาณัติ และแจ้งชื่อ-ที่อยู่ มาที่ “ผู้อำนวยการกองบริหารงานกลาง”
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 - โอนเงินเข้าบัญชี “กฐินพระราชทาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์”
ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองจั่น
ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 040-2-52773-2
ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 944-0-01340-8

ทั้งนี้ โปรดส่งสำเนาใบโอนเงินพร้อมชื่อผู้บริจาค ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ไปยังส่วนสารบรรณและพิธีการ กองบริหารงานกลาง สำนักงานอธิการบดี
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
ทางโทรสาร 0 2375 8798 หรือทางอีเมล royal-kathin@nida.ac.th
เพื่อสถาบันจะได้จัดส่งใบอนุโมทนาบัตรให้ท่านนำไป ลดหย่อนภาษี ต่อไป
***ออกใบอนุโมทนาบัตรตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป***
สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2727 3497
สถาบันขอขอบคุณเป็นอย่างสูงในจิตศรัทธาของทุกท่านที่ร่วมกุศลถวายผ้าพระกฐินพระราชทานในครั้งนี้

#กฐินพระราชทาน #กฐินพระราชทาน2566 #กฐินพระราชทานนิด้า2566
#NIDA #NIDAThailand
#WISDOMforSustainableDevelopment
#สร้างปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
วัดศาลาปูน
หนึ่งในวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ “อยุธยา”

วัดศาลาปูนวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
ตั้งอยู่เลขที่ 38 หมู่ 4 ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดศาลาปูนวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร
“วัดศาลาปูน” ในปัจจุบันและโบราณวัตถุสำคัญ
ภายในพระอุโบสถวัดศาลาปูนวรวิหารแห่งนี้ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพ “เทพชุมนุม วิทยาธร และพุทธประวัติ” ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ด้านหลังของพระอุโบสถ ที่ผนังเขียนภาพ “ทะเลมีเรือสำเภาหลายลำ” โดยภาพมีลักษณะอิทธิพลตะวันตกแบบงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 4 โบราณวัตถุที่สำคัญคือพระพุทธรูปโบราณชื่อว่า “หลวงพ่อแขนลาย” เป็นพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ศิลปสมัยก่อนอยุธยา
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงให้ความสนพระทัยและให้ความสำคัญกับกรุงเก่าแห่งนี้เป็นอย่างมาก นำไปสู่การเริ่มฟื้นฟูและบูรณปฏิสังขรณ์อย่างจริงจัง ทั้งวัดและพระราชวัง พระองค์ทรงตระหนักถึงคุณค่าของโบราณและเป็นหนึ่งในกระบวนการสร้างความศิวิไลซ์แก่สยามเพื่อป้องกันลัทธิล่าอาณานิค
สานต่อ เริ่มต้นฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์อย่างจริงจัง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงศรีอยุธยามีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ความสนใจมุ่งไปยังด้านกายภาพหรือตัวเมืองเป็นหลัก พระองค์ได้ฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยาต่อจากพระราชบิดา และนั่นเป็นอีกครั้งที่ทำให้ “วัดศาลาปูน” ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์

“วัดศาลาปูน” ในปัจจุบันและโบราณวัตถุสำคัญ
ภายในพระอุโบสถวัดศาลาปูนวรวิหารแห่งนี้ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพ “เทพชุมนุม วิทยาธร และพุทธประวัติ” ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ด้านหลังของพระอุโบสถ ที่ผนังเขียนภาพ “ทะเลมีเรือสำเภาหลายลำ” โดยภาพมีลักษณะอิทธิพลตะวันตกแบบงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 4 โบราณวัตถุที่สำคัญคือพระพุทธรูปโบราณชื่อว่า “หลวงพ่อแขนลาย” เป็นพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ศิลปสมัยก่อนอยุธยา
อ้างอิงข้อมูลจาก
นิชาภา ทิชากรสกุล. (2562). กรุงศรีอยุธยาในรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1-5: ศึกษาจากเอกสาร วรรณคดีและ เอกสารสมัยรัตนโกสินทร์ (Ayutthaya in Rattanakosin Era From the Reign of King Rama I
to King Rama V: A Documentary Research on Literature and Official Documents). https://so06.tci-thaijo.org/ index.php/thaikhadijournal/article/view/229864/156501
ทรูไอดี. (2565). วัดศาลาปูนวรวิหาร ที่เที่ยวอยุธยา เดินชมวัดเก่าแก่ ไหว้ขอพร หลวงพ่อแขนลาย. https://travel.trueid.net/detail/4oaPQyrg8Pam