p

ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ‘ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์’ เศรษฐศาสตร์โรแมนติกแค่ไหน? เมื่อความรักเปรียบเป็นสินค้าและตลาดแรงงาน

ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ‘ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์’ เศรษฐศาสตร์โรแมนติกแค่ไหน? เมื่อความรักเปรียบเป็นสินค้าและตลาดแรงงาน

“เศรษฐศาสตร์อธิบายได้ทุกเรื่องครับ ไม่เว้นแม้กระทั่งความรัก มันอาจจะดู Sensitive น้อยไปหน่อย แต่ก็ทำให้เราเข้าใจเบื้องหลังความคิดเหล่านั้น ” ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ ศาสตราจารย์ระดับ 11 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อธิบายระหว่างสนทนาในเดือนแห่งความรัก กุมภาพันธ์ 2566

          ผมมองความรักเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการเกิดเป็นมนุษย์นะ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ได้รับความรู้สึกถูกรักจากครอบครัว จากผู้ให้กำเนิด พอโตขึ้นมาเริ่มเรียนรู้ความรักกับพ่อแม่ สัตว์เลี้ยง กับเพื่อน กับคนรัก พอมีลูกเราก็รักลูก ในมุมมองของผมความรักถือเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์แบบ เพราะถึงเราเหนื่อยเราก็ยอม ไม่ชอบสิ่งใดเราก็อดทน ถ้าเรามีความรักกับสิ่งนั้นเพียงพอ

          ส่วนในฐานะนัก เศรษฐศาสตร์ ความรักเป็นสิ่งที่มีเหตุผล เป็นสิ่งที่อธิบายได้ เช่น ทำไมบางคนถึงเลือกคนนี้เป็นคู่ ทำไมคนหน้าตาดี ฐานะดีถึงมีโอกาสถูกเลือกมากกว่า? ความรักต่างจากความหลงอย่างไร? ทำไมคนๆ หนึ่งถึงตัดสินใจมีกิ๊ก และทำไมการหย่าร้างถึงเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ถ้ามองในเชิง Rational (การมีเหตุมีผล) จะเห็นมิติของการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ผสมอยู่

เรื่องโดย : อรรถภูมิ อองกุลนะ , ภาพ : ณัฐวรรธน์ ไทยเสน

บทสัมภาษณ์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) 

ติดตามอ่านทั้งหมดได้ที่ NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย

https://ngthai.com/cultures/46862/piriya-economics-of-love