The Meaning of the Employee Engagement of Thai Public Hospitals under the Ministry of Public Health

Authors

รศ.ดร.สมบัติ กุสุมาวลี, นางSiriporn Potidokmai

Published

วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร

Abstract

The objectives of this study are to explore the meaning of the employee engagement of Thai public hospitals in the Thai context and to investigate the factors that promote the employee engagement of Thai public hospitals under the Ministry of Public Health (MOPH). This study employed a qualitative phenomenological approach. The data were collected through semi-structured interviews and participatory observations with 13 medical doctors, 15 general support employees, 15 medical support employees, and 15 nurses from three different hospitals across MOPH-owned hospitals, including community, general, and regional hospitals. Conventional content analysis, the frequency count occurrences of words, along with the five stages of inductive data analysis were applied for the analysis of the data.

The findings revealed 5 common components of the meaning of employee engagement, including positive emotion, wholehearted effort, organization accomplishment, desired behavior, and stay. The findings explored 16 factors that promoted employee engagement, which were categorized into 3 levels, including individual, group, and organization levels. The five factors at the individual level were personal resources, feeling important, relationship with colleagues, prolonged stay, and patient well-being. The three factors at the group level were collaboration, perceived supervisor support, and team work. The eight factors at the organization level included hospital image, job characteristics, family-like work climate, job security, leader, compensation, welfare, and learning and development opportunity.

ความหมายของความผูกพันของพนักงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย

วัตถุประสงค์เพื่อ หาความหมายของความผูกพันของพนักงานในโรงพยาบาลรัฐบาลในบริบทของคนไทย และหาปัจจัยที่ส่งเสริมความผูกพันในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเชิงปรากฎการณ์วิทยา ใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแพทย์ 13 คน พนักงานสนับสนุนทั่วไป 15 คน พนักงานสนับสนุนการแพทย์ 15 คน และพยาบาล 15 คน ใน 3 โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ การวิเคาระห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม การนับความถี่ของคำ และ 5 ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของความผูกพันของพนักงานมี 5 องค์ประกอบคือ ความรู้สึกเชิงบวก ความมุมานะอย่างเต็มใจ ความสำเร็จขององค์กร พฤติกรรมที่ต้องการในองค์กร และการอยู่กับองค์กร และพบ 16 ปัจจัยที่ส่งเสริมความผูกพันของพนักงานซึ่งจำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ บุคคล กลุ่ม และองค์กร ปัจจัยระดับบุคคลมี 5 ปัจจัย คือ คุณสมบัติส่วนบุคคล ความรู้สึกว่าเป็นบุคคลสำคัญ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การอยู่กับองค์กรมาเป็นเวลานาน และความอยู่ดีมีสุขของคนไข้ ปัจจัยระดับกลุ่มมี 3 ปัจจัย คือ ความร่วมแรงร่วมใจ การรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้า และการทำงานเป็นทีม ปัจจัยระดับองค์กรมี 8 ปัจจัย คือ ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาล ลักษณะงาน บรรยากาศการทำงานที่เหมือนครอบครัว ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ผู้นำ ค่าตอบแทน สวัสดิการ และโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา

(2563). The Meaning of the Employee Engagement of Thai Public Hospitals under the Ministry of Public Health. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร, 12(2), 109-144.