PM2.5 scaled

สนทนากับ ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ถึงสถานการณ์ PM2.5 ไทย

Authors

ศ. ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์

Published

ตัวอย่างผลงานวิจัย
https://online.anyflip.com/tiyxz/xkck/mobile/index.html


PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่ได้ชื่อว่าฝุ่นพิษจิ๋ว เป็นปัญหาเรื้อรังด้านมลพิษทางอากาศที่คุกคามชีวิตของผู้คนจำนวนมาก โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) ประเมินว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศมากถึง 7 ล้านราย [1] โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ที่มีประชากรถึงกว่า 80% ทั่วโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ [2] 

และขณะที่ประเทศไทยย่างเข้าสู่ฤดูกาล PM2.5 ซึ่งกลายเป็นภัยประจำถิ่นของหลายพื้นที่อย่างเป็นทางการในช่วงนี้หรือระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน NIDA Impacts จึงถือโอกาสชวนศ. ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม NIDA สนทนาถึงวาระ PM2.5 ในฐานะที่ท่านเป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสารก่อมะเร็งและสารก่อการกลายพันธุ์คนสำคัญ ที่เกาะติดประเด็นมลพิษทางอากาศในชั้นบรรยากาศมาอย่างยาวนาน รวมทั้งจุดประเด็นเกี่ยวกับ PM (Particulate Matter) โดยเฉพาะ PM2.5 ให้เป็นที่รับรู้เป็นคนแรกๆ ในสังคมไทย

สถานะของการขับเคลื่อนวาระ PM2.5 ปัจจุบัน

สื่อและสังคมเริ่มให้ความสำคัญอย่างมากกับ PM2.5 ตั้งแต่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีงานวิจัยออกมาพอสมควรแต่ยังไม่เป็นประเด็น [3-10] บทบาทหนึ่งที่ผมทำมาโดยตลอดก็คือการเป็นนักวิชาการที่เรียกร้องให้ภาครัฐต้องมีการปรับเปลี่ยนค่ามาตรฐานมลพิษทางอากาศในชั้นบรรยากาศ เช่น PM2.5 ซึ่งที่ผ่านมาอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐานสากลที่กำหนดโดย WHO รวมทั้งสหรัฐอเมริกาที่อยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถึงเท่าตัว ภายหลังจากที่มีการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมและนักวิชาการอย่างต่อเนื่อง ทำให้เดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้จะมีการปรับเปลี่ยนค่ามาตรฐาน จาก 50 ไปเป็น 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร [11] แต่สำหรับสารก่อมะเร็ง ณ เวลานี้ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐาน

อันตรายของฝุ่น PM2.5

PM2.5 เป็นที่รับรู้ถึงความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง แต่จากงานวิจัยหลายชิ้นในช่วงหลังรวมทั้งของ WHO เอง ตอกย้ำถึงอันตรายของฝุ่น PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไม่เพียงโรคมะเร็งเท่านั้น แต่รวมถึงโรคที่คาดไม่ถึง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต ที่น่ากลัวคือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ระบุว่า PM2.5 ส่งผลเสียต่อความจำ ตัวอย่างเช่นนักเรียนในพื้นที่ที่ค่าฝุ่น PM2.5 ต่ำจะมีผลการเรียนที่ดีกว่านักเรียนในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงอย่างเห็นได้ชัด [12-15]

ค่าฝุ่น PM2.5 ยังเชื่อมโยงกับการเกิดโรคอื่นๆ งานวิจัยของประเทศจีนพบว่ามลพิษทางอากาศชนิดต่างๆ เช่น PM10, PM2.5, คาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหวัด [16] รวมทั้งโควิด-19 เองที่งานวิจัยของประเทศอิตาลีได้ตั้งข้อสังเกตว่าค่า PM2.5 ของอิตาลีที่ทางตอนเหนือมีค่าสูงกว่าทางตอนใต้นั้นมีความสอดคล้องกับอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่สูงกว่าด้วย [17]

งานวิจัยของ Harvard University ยังระบุว่าการเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM2.5 ทุก 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15% [18]

ที่มาของฝุ่น PM2.5และการจัดการ

ปัญหาฝุ่น PM2.5 มีความซับซ้อนในเรื่องแหล่งกำเนิดที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย ในพื้นที่กรุงเทพฯ อ้างอิงจากงานวิจัยของผมเกี่ยวกับการตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 และการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี รวมทั้งจากงานวิจัยของนักวิชาการอีกหลายคน พบว่าแหล่งกำเนิดสำคัญคือไอเสียจากยานพาหนะถึงร้อยละ 70 ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม [3, 4, 7, 8-9] และวิกฤตหมอกควัน ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกิดจากการเผาอ้อยในพื้นที่ปริมณฑลโดยรอบ ส่วนในพื้นที่ภาคเหนือ แหล่งกำเนิดสำคัญคือการเผาเศษชีวมวลในที่โล่งในภาคการเกษตร ไฟป่า รวมทั้งไอเสียยานพาหนะ สำหรับประเทศไทยเรา หมอกควันข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นอีกปัจจัยที่ซ้ำเติมให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง ตามรายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันจากข้อมูลดาวเทียม GISTDA จัดทำโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าที่จริงแล้วจุดฮอตสปอตในช่วงฤดูกาลของฝุ่น PM2.5 นั้นมีต้นกำเนิดจากเมียนมาร์และลาวมากกว่าประเทศไทย

ปัจจัยทางธรรมชาติยังมีส่วนเพิ่มผลกระทบต่อสถานการณ์มลพิษทางอากาศ เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ 1) วัฏจักร ENSO จากอุณหภูมิของกระแสน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) ซึ่งจะทำให้อากาศแห้งแล้ง ส่งผลให้โอกาสการเกิดฝุ่น PM2.5 มีเพิ่มมากขึ้น 2) ปรากฏการณ์ IOD (Indian Ocean Dipole) ใน Positive Mode แบบเดียวกับวัฏจักร ENSO แต่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย โดย Positive Mode จะส่งผลแบบเดียวกับปรากฏการณ์เอลนีโญ 3) ปรากฏการณ์ฝาชีครอบในช่วงฤดูหนาว เกิดจากมวลอากาศเย็นที่ไหลลงมาจากประเทศจีนตอนใต้แผ่ปกคลุมภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ ทำให้อากาศถ่ายเทได้ไม่ดี 4) การสะสมของชีวมวลที่มากเกินไป 

ข้อเสนอถึงมาตรการการแก้ไขปัญหาที่ผมได้เน้นย้ำมาโดยตลอดก็คือ 1) การควบคุมควันดำจากเครื่องยนต์ดีเซลและการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงสะอาด ได้แก่ การใช้ B10/NGV การปรับค่ามาตรฐานเชื้อเพลิงจาก EURO 4 สู่ EURO 5 และการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV 2) ในส่วนของการเผาเศษชีวมวลในที่โล่งในภาคการเกษตร จำเป็นต้องมีการจัดการชีวมวล เช่น โดยการเพิ่มมูลค่าชีวมวลให้กับเกษตรกร อย่างการนำไปทำปุ๋ยหมัก การนำไปจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือการให้ความต่างของราคารับซื้ออ้อยระหว่างอ้อยสดกับอ้อยเผาเพื่อให้เกษตรกรไม่หันไปเผา 3) ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว คือการสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมปล่อยมลพิษทางอากาศให้น้อยที่สุดผ่านแนวคิดสองอย่าง อย่างแรก คือ Best Available Techniques หรือ BAT หมายถึง เทคนิคที่ดีที่สุด และอย่างที่สอง คือ Best Environment Practices หรือ BEP หมายถึง แนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด ตัวอย่างจากโครงการที่องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิโด (United Nations Industrial Development Organization – UNIDO) ผลักดันไว้ คือการทำความสะอาดเศษโลหะก่อนเข้าสู่การรีไซเคิลในโรงงานรีไซเคิลโลหะ เช่น การนำน้ำมันออกก่อนที่จะถลุง และอาศัยอุปกรณ์ดักจับต่างๆ เพื่อการดักจับมลพิษที่ถูกปล่อยออกมาทั้งฝุ่นและก๊าซ หรือการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ช่วยจัดการปัญหาในการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น การใช้เทคโนโลยีไมโครอิมัลชั่นในหม้อต้มน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม [19-22]

บทบาทการขับเคลื่อนวาระคุณภาพอากาศ

บทบาทที่ผมมีส่วนในการขับเคลื่อนวาระคุณภาพอากาศอย่างมากคือการเป็นหัวหน้าคณะทำงาน Prime Mover ใน “โครงการพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย” [23-24] โดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ หรือ สสส. อีกส่วนคือความร่วมมือกับยูนิโด ที่ต้องการสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมลดการปล่อยสารพิษในชั้นบรรยากาศให้น้อยลงมากที่สุดผ่านการใช้แนวคิดที่เรียกว่า BAT/BEP ในการช่วยลดการปลดปล่อยของสารพิษจากแหล่งกำเนิด หลักๆ คือเข้าไปสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อต้มในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดหลักของมลพิษทางอากาศในภาคอุตสาหกรรมให้มีการดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอและใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสม ซึ่งช่วยผู้ให้ประกอบการประหยัดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงและเพิ่มผลกำไรในการผลิตไปพร้อมกัน สำหรับโครงการล่าสุดที่ผมเป็นหัวหน้าโครงการเกี่ยวข้องกับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศซึ่งพบว่ามีกากของเสียจากภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการจัดการอย่างถูกวิธีจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็นไอเดียที่ทางยูนิโดร่วมกับกรมโรงงานได้จัดให้มีการประกวดการเปลี่ยนกากของเสียอุตสาหกรรมเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว โดยจะมีการแข่งขันทั่วประเทศในปีนี้ 

ส่วนบทบาทอื่นๆ ก็เช่นการเป็นหโฆษกของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ มีหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชน รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศพร้อมเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและแก้ไขหรือการรับมือกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่จะมาเป็นช่วงฤดูกาล และการเป็นอนุกรรมการวิชาการจัดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่นำเสนอนโยบายให้มีการปรับลดปัญหามลพิษทางอากาศ

สำหรับ “impacts” จากบทบาทนักวิชาการที่มีต่อสังคม ผมคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากการวิจัย ทั้งในด้านผลกระทบที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านแหล่งกำเนิดซึ่งยังคงเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการกำหนดมาตรการรับมือที่เหมาะสม เมื่อทำวิจัยออกมาแล้วได้ผลอย่างไรจะต้องนำไปเผยแพร่ในวงกว้างให้สังคมได้ตระหนักรู้ แต่เสียงของเราเพียงคนเดียวอาจจะไม่ดัง จำเป็นต้องรวมกันเป็นหมู่คณะ สร้างพันธมิตรนักวิชาการที่จะมาร่วมมือกัน สร้างเครือข่ายนักวิจัยที่มีอุดมการณ์ร่วมกันในการขับเคลื่อนให้ภาครัฐขยับตัวเพื่อตอบสนองในสิ่งที่ภาคประชาชน นักวิชาการ เรียกร้อง ตัวอย่างเช่นในบทบาทการทำงานขับเคลื่อนวาระคุณภาพอากาศของคณะทำงาน Prime Mover เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

[1] Kuehn, B. M. (2014). WHO: More than 7 million air pollution deaths each year. Jama, 311(15), 1486-1486.

[2] An, R., Ji, M., Yan, H., & Guan, C. (2018). Impact of ambient air pollution on obesity: a systematic review. International journal of obesity42(6), 1112-1126.

[3] Pongpiachan, S., Tipmanee, D., Khumsup, C., Kittikoon, I., & Hirunyatrakul, P. (2015). Assessing risks to adults and preschool children posed by PM2.5-bound polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) during a biomass burning episode in Northern Thailand. Science of the Total Environment, 508, 435-444.

[4] ChooChuay, C., Pongpiachan, S., Tipmanee, D., Suttinun, O., Deelaman, W., Wang, Q., … & Cao, J. (2020). Impacts of PM2.5 sources on variations in particulate chemical compounds in ambient air of Bangkok, Thailand. Atmospheric Pollution Research, 11(9), 1657-1667.

[5] Pongpiachan, S. (2016). Incremental lifetime cancer risk of PM2.5 bound polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) before and after the wildland fire episode. Aerosol and Air Quality Research, 16(11), 2907-2919.

[6] Pongpiachan, S., Hattayanone, M., & Cao, J. (2017). Effect of agricultural waste burning season on PM2.5-bound polycyclic aromatic hydrocarbon (PAH) levels in Northern Thailand. Atmospheric pollution research, 8(6), 1069-1080.

[7] ChooChuay, C., Pongpiachan, S., Tipmanee, D., Deelaman, W., Iadtem, N., Suttinun, O., … & Cao, J. (2022). Effects of agricultural waste burning on PM2.5-bound polycyclic aromatic hydrocarbons, carbonaceous compositions, and water-soluble ionic species in the ambient air of Chiang-Mai, Thailand. Polycyclic Aromatic Compounds, 42(3), 749-770.

[8] Pongpiachan, S., Kositanont, C., Palakun, J., Liu, S., Ho, K. F., & Cao, J. (2015). Effects of day-of-week trends and vehicle types on PM2.5-bounded carbonaceous compositions. Science of the Total Environment, 532, 484-494.

[9] Pongpiachan, S., Liu, S., Huang, R., Zhao, Z., Palakun, J., Kositanont, C., & Cao, J. (2017). Variation in day-of-week and seasonal concentrations of atmospheric PM2.5-bound metals and associated health risks in Bangkok, Thailand. Archives of environmental contamination and toxicology, 72(3), 364-379.

[10] Janta, R., Sekiguchi, K., Yamaguchi, R., Sopajaree, K., Pongpiachan, S., & Chetiyanukornkul, T. (2020). Ambient PM2.5, polycyclic aromatic hydrocarbons and biomass burning tracer in Mae Sot District, western Thailand. Atmospheric Pollution Research, 11(1), 27-39.

[11] https://www.pcd.go.th/pcd_news/26385

[12] Bowe, B., Xie, Y., Li, T., Yan, Y., Xian, H., & Al-Aly, Z. (2018). The 2016 global and national burden of diabetes mellitus attributable to PM2.5 air pollution. The Lancet Planetary Health, 2(7), e301-e312.

[13] Fang, J., Tang, S., Zhou, J., Zhou, J., Cui, L., Kong, F., … & Shi, X. (2020). Associations between personal PM2.5 elemental constituents and decline of kidney function in older individuals: the China BAPE Study. Environmental Science & Technology, 54(20), 13167-13174.

[14] Chen, J., Wu, L., Yang, G., Zhang, C., Liu, X., Sun, X., … & Wang, N. (2021). The influence of PM2.5 exposure on non-alcoholic fatty liver disease. Life Sciences, 270, 119135.

[15] Shou, Y., Huang, Y., Zhu, X., Liu, C., Hu, Y., & Wang, H. (2019). A review of the possible associations between ambient PM2.5 exposures and the development of Alzheimer’s disease. Ecotoxicology and Environmental Safety, 174, 344-352.

[16] Su, W., Wu, X., Geng, X., Zhao, X., Liu, Q., & Liu, T. (2019). The short-term effects of air pollutants on influenza-like illness in Jinan, China. BMC public health, 19(1), 1-12.

[17] Zoran, M. A., Savastru, R. S., Savastru, D. M., & Tautan, M. N. (2020). Assessing the relationship between surface levels of PM2.5 and PM10 particulate matter impact on COVID-19 in Milan, Italy. Science of the total environment, 738, 139825.

[18] Abrar, M. M., Iqbal, M., Haider, E., & Shoukat, H. M. H. (2020). Can PM2.5 pollution worsen the death rate due to COVID-19 in India and Pakistan?. The Science of the total environment, 742, 140557.

[19] Pongpiachan, S., Wiriwutikorn, T., Phetsomphou, P., Jieam, K., Vongxay, K., Choviran, K., … & Centeno, C. (2019). Data relating to emissions of polychlorinated dibenzo-p-dioxins (PCDDs) and polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) from industrial boilers. Data in brief, 22, 286-295.

[20] Pongpiachan, S., Wiriwutikorn, T., Rungruang, C., Yodden, K., Sbrilli, A., Gobbi, M., & Centeno, C. Emissions of PCDD/PCDF from Industrial Boilers at Whisky Factory and Vegetable Oil Factory in Samutsakorn Province, Thailand.

[21] Pongpiachan, S., Wiriwutikorn, T., Rungruang, C., Yodden, K., Sbrilli, A., Gobbi, M., & Centeno, C. (2013). Occupational exposure to PCDD/PCDF from industrial boilers at a whisky factory and vegetable oil factory in Samutsakorn Province, Thailand. WIT Transactions on The Built Environment, 134, 785-799.

[22] Pongpiachan, S., Wiriwutikorn, T., Sbrilli, A., Gobbi, M., Hashmi, M. Z., & Centeno, C. (2019). Influence of Fuel Type on Emission Profiles of Polychlorinated Dibenzo-p-Dioxins and Polychlorinated Dibenzofurans from Industrial Boilers. Polycyclic Aromatic Compounds.

[23] https://anyflip.com/mgrpw/aivk/basic

[24] https://anyflip.com/mgrpw/gwgw

บทสัมภาษณ์ผลงานวิชาการของ ศ. ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ตามสื่อต่างๆ

[1] https://www.youtube.com/watch?v=KW0nrUlawsQ&t=10s

[2] https://www.youtube.com/watch?v=X6AcJmJl6js&t=57s

[3] https://www.youtube.com/watch?v=7SaOuxHHPSg

[4] https://www.youtube.com/watch?v=K11lD9KLS2o

[5] https://www.youtube.com/watch?v=6H7S-T28x-c&t=4s

[6] https://www.youtube.com/watch?v=x-LK3QA2Qwk&t=178s

[7] https://www.youtube.com/watch?v=o1d0YP6_IfI

[8] https://www.youtube.com/watch?v=5MEvIBBcyS8

[9] https://www.youtube.com/watch?v=Ia53h8qdo0w

[10] https://www.youtube.com/watch?v=Ia53h8qdo0w

[11] https://www.youtube.com/watch?v=RKLfkriDonA