Published
วารสารศาลรัฐธรรมนูญ
วารสารศาลรัฐธรรมนูญ
“หลักนิติธรรม” เป็นหลักการสําคัญพื้นฐานของบรรดารัฐเสรีประชาธิปไตย แม้ว่า
จะมีข้อถกเถียงในทางวิชาการว่า “หลักนิติธรรม” (Rule of Law) กับ “หลักนิติรัฐ”
(Rechtsstaat) เป็นหลักการเดียวกันหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามพัฒนาการของระบบ
กฎหมายในปัจจุบันภายใต้ระบบโลกาภิวัฒน์ (Globalization) มีส่วนสําคัญทําให้ “หลัก
นิติธรรม” และ “หลักนิติรัฐ” พัฒนามาสู่การมีหลักการร่วมกันของบรรดารัฐเสรี
ประชาธิปไตย คงทิ้งไว้เฉพาะลักษณะที่เป็นพัฒนาการในทางประวัติศาสตร์ของแต่ละ
ระบบที่ไม่ใช่สาระสําคัญของการเป็นหลักการพื้นฐานของรัฐเสรีประชาธิปไตย เช่น การมี
ระบบศาลคู่หรือระบบศาลเดี่ยว หรือการอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกันหรือมีระบบ
กฎหมายที่แยกตามลักษณะของกฎหมาย เช่น ระบบกฎหมายเอกชน ระบบกฎหมาย
มหาชน เป็นต้น ตัวอย่างสองประการข้างต้นเป็นข้อแตกต่างระหว่าง “หลักนิติธรรม” กับ
“หลักนิติรัฐ” แต่การที่รัฐใดรัฐหนึ่งใช้ระบบศาลหรือระบบกฎหมายเช่นใดย่อมไม่มี
นัยสําคัญว่ารัฐนั้นๆไม่ถือ “หลักนิติธรรม” หรือ “หลักนิติรัฐ” สิ่งเหล่านี้จึงเป็นพัฒนาการ
ในทางกฎหมายของประเทศนั้นๆ ส่วนหลักการที่เป็นแก่นสาระสําคัญของนิติธรรมหรือนิติ
รัฐได้นําไปสู่การรับรองคุ้มครองโดยกติการะหว่างประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ
กล่าวคือ หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน, หลักไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย
หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา เป็นต้น หลักการเหล่านี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น
หลักการพื้นฐานของบรรดารัฐเสรีประชาธิปไตย ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อจํากัดการใช้อํานาจ
ของรัฐและมุ่งคุ้มครองบุคคลจากการใช้อํานาจของรัฐทั้งหลาย ดังนั้น รัฐที่ปกครองโดย
กฎหมายทั้งหลายไม่ว่าจะเรียกว่า “นิติธรรม” หรือ “นิติรัฐ” สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสาระสําคัญ
ที่ทุกฝ่ายล้วนยอมรับและเป็นเกณฑ์สําคัญของการใช้อํานาจรัฐในแต่ละรัฐของบรรดารัฐ
เสรีประชาธิปไตย
สําหรับประเทศไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้
บัญญัติเรื่องหลักนิติธรรมไว้ในมาตรา ๓ วรรคสอง ว่า “การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภาคณะรัฐมนตรีศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตาม
หลักนิติธรรม” ประเด็นที่นําสู่ข้อถกเถียงในทางวิชาการคือ อะไรคือ “หลักนิติธรรม”
ความหมายและขอบเขตของหลักนิติธรรม มีเพียงใด สถานะของหลักนิติธรรมเป็นอย่างไร
และผลของการกระทําที่ขัดต่อหลักนิติธรรมมีผลอย่างไร ซึ่งในที่จะได้ตอบประเด็นใน
คําถามเหล่านี้ โดยจะได้กล่าวถึงความหมายของ “หลักนิติธรรม” ตามที่ปรากฏใน
รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ สถานะของหลักนิติธรรม หลักนิติธรรมในฐานะเป็นเกณฑ์ตรวจสอบ
การใช้อํานาจรัฐ และผลของการละเมิดหลักนิติธรรม ซึ่งจะได้พิจารณาไปตามลําดับ
(2560). หลักนิติธรรม ในฐานะ เกณฑ์ ตรวจสอบการกระทำขององค์ของรัฐ. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 19(55), 88-102.