หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรที่เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ผ่านแนวคิดทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติจริง และได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรจากองค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ UNWTO.TedQual เรียนรู้และถ่ายทอดโดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์และมีตำแหน่งทางวิชาการ 100% เพื่อสร้างนักบริหารจัดการการท่องเที่ยวยุคใหม่และขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
|




ผู้อำนวยการหลักสูตร

รศ.ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ความพิเศษของหลักสูตร
- บัณฑิตวิทยาลัยเฉพาะทางแห่งแรกของประเทศไทย
- หลักสูตรปริญญาเอก แห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรจากองค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่ง
สหประชาชาติ UNWTO.TedQual - หลักสูตรปริญญาเอก 1 ใน 5 ของโลก
- มีจัดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ มากที่สุดในประเทศ
- มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งใน และต่างประเทศ
- เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
วิชาในหลักสูตร
วิชาเตรียมความพร้อม
เป็นวิชาที่ไม่กำหนดหน่วยกิตและไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มรวมเฉลี่ยที่นักศึกษาต้องเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ โดยใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง ดังนี้
ทท 4001 ภาษาอังกฤษขั้นสูงสำหรับการศึกษานโยบายการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ
TH 4001 Advanced English for Integrated Tourism and Hospitality Policy, Planning and Management Studies
วิชาเสริมพื้นฐาน
เป็นวิชาไม่นับหน่วยกิตและไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มรวมเฉลี่ยนักศึกษาจะต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐาน ในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ดังนี้
ภส 4003 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการขั้นสูง
ภส 6000 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษระดับสูงสำหรับบัณฑิตศึกษา
หมายเหตุ
1.การเรียนการสอนมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ โดยเงื่อนไขในการเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
2.สามารถยกเว้นรายวิชาได้ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.0 ขึ้นไป โดยต้องยื่นผลก่อนเปิดภาคการศึกษา
วิชาพื้นฐาน
สำหรับนักศึกษาหลักสูตรแบบ 2.2 เท่านั้น มี 2 วิชา 6 หน่วยกิต ได้แก่
ทท 6005 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการท่องเที่ยวและบริการ
ทท 7001 จริยธรรมในการกำหนดนโยบาย การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวและบริการ
วิชาหลัก
มี 4 วิชา 12 หน่วยกิต ได้แก่
ทท 8011 นโยบาย การวางแผนและการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทท 8012 นวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
ทท 8013 การจัดการการท่องเที่ยวและบริการโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์
ทท 8014 กลยุทธ์การจัดการขั้นสูงสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
วิชาระเบียบวิจัย
เลือกเรียนเพียง 2 วิชา 6 หน่วยกิต ได้แก่
ทท 8101 ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
*ทท 8102 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
*ทท 8103 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
* เลือกเพียง 1 วิชา
วิชาเลือก
เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 1 วิชา 3 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้
ทท 8301 การวางแผนการเงินและการลงทุนเชิงประยุกต์สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ
ทท 8302 สัมมนาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวและบริการในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ทท 8303 สัมมนานโยบาย การวางแผนและการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
ทท 8304 การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของทุนมนุษย์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
ทท 8005 การศึกษาตามแนวแนะ
วิทยานิพนธ์
ทท 9900 วิทยานิพนธ์ 36/48 หน่วยกิต
สมัครเรียนหลักสูตร
ค่าลงทะเบียน
อัตราค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 562,000 บาท แบ่งจ่ายเป็น 7 งวด โดยรวมค่าหน่วยกิต การเตรียมความพร้อม ค่าบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการใช้เทคโนโลยี ค่าบริการทรัพยากรสารสนเทศ และค่ากิจกรรมพิเศษ ดังนี้
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (งวดที่ 1) | 98,000 | |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 (งวดที่ 2) | 102,000 | |
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน (งวดที่ 3) | 50,000 | |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 4 (งวดที่ 4) | 78,000 | |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 5 (งวดที่ 5) | 78,000 | |
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 6 (งวดที่ 6) | 78,000 | |
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 7 (งวดที่ 7) | 78,000 | |
ประมาณค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร | 562,000 |
คุณสมบัติผู้สมัคร
- ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
- ผู้สมัครต้องมีผลการสอบ IELTS หรือ TOEFL ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
2.1 ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ตั้งแต่ ๕๕๐ คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.0 ขึ้นไป สามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาแล้วจะได้รับการยกเว้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร
2.2 ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TOEFL เท่ากับ 500 คะแนนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 550 คะแนน หรือ IELTS เท่ากับระดับ 5.0 ขึ้นไปแต่ไม่ถึงระดับ 6.0 สามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาแล้วจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร
2.3 ในกรณีที่ผู้สมัครไม่มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS ผู้สมัครสามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาแล้ว จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร และจะต้องสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ TOEFL ให้ได้คะแนนไม่น้อยกว่า 500 คะแนน หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 5.0 ขึ้นไป ก่อนการสำเร็จการศึกษา - มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต จากอาจารย์ที่สอนในระดับบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือ ผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
- สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและ ยอมรับข้อกำหนดที่ต้องเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งได้รับการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ลงในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review)
สมัครเรียน
เปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ - มิถุนายน 2566
สมัครออนไลน์โดยคลิกที่ปุ่มสมัครเรียน