เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดเวทีการนำเสนอโครงการย่อย (Proposal) ภายใต้ “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567” ในรูปแบบ Hybrid ณ ห้อง 603 ชั้น 6 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และผ่านระบบออนไลน์ MS TEAMS
โดยมี ผศ.ดร.แตงอ่อน มั่นใจตน รองประธานคณะทำงานฯ เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการ และ รศ.ดร.อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและชุมชนสัมพันธ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ด้านธนาคารออมสิน ได้รับเกียรติจาก คุณณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ รองผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน กล่าวถึงแนวทางการดำเนินโครงการ และ คุณสุรพล โสมะภีร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ทีมงานฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และทีมงานหน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน ธนาคารออมสินภาค 2 ได้เข้าร่วมรับฟังการนําเสนอโครงการย่อย พร้อมให้คําแนะนําแนวทางในการพัฒนากลุ่มชุมชนร่วมกัน โดยมีทีมนักศึกษาจากนิด้าเข้าร่วมนําเสนอโครงการย่อย จำนวน 5 ทีม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 ประเภทผลิตภัณฑ์ (ชุมชนใหม่ 1)
ชื่อโครงการย่อย : ชุมชนวัดทองสัมฤทธิ์ เขตมีนบุรี
ผลิตภัณฑ์ : ขนมไทย-ขนมเทียน วุ้นแฟนซี
ชื่อทีมนักศึกษา : NIDA MBA II
อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.อนุกัลยณ์ จีระลักษณกุล
- กลุ่มที่ 2 ประเภทบริการ (ชุมชนเก่า 1 ) : โปรแกรมเส้นทางการท่องเที่ยว
ชื่อโครงการย่อย : ศูนย์การเรียนรู้บ้านครูแดง คลองลำไทร
บริการ : เส้นทางการท่องเที่ยว
ชื่อทีมนักศึกษา : KPB ยกกำลังสอง
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.แสงแข บุญศิริ
- กลุ่มที่ 3 ประเภทผลิตภัณฑ์ (ชุมชนใหม่ 2)
ชื่อกลุ่มองค์กรชุมชน : ชุมชนน้ำใส ดอกไม้สวย
ผลิตภัณฑ์ : ข้าวไรซ์เบอร์รี่ไซรัป
ชื่อทีมนักศึกษา : GSTM Start-Up
อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.กนกกานต์ แก้วนุช
- กลุ่มที่ 4 ประเภทผลิตภัณฑ์ (ชุมชนเก่า 2)
ชื่อโครงการย่อย : ผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม “ทรายแมวจากผักตบชวา”
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ทรายแมวจากผักตบชวา
ชื่อทีมนักศึกษา : ดอกไม้นิด้า
อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.พัทรียา หลักเพ็ชร
- กลุ่มที่ 5 ประเภทผลิตภัณฑ์ (ชุมชนเก่า 3)
ชื่อกลุ่มองค์กรชุมชน : ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเอง บ้านสุมาลี
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากไม้
ชื่อทีมนักศึกษา : หัตถเศษ
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.วรรษิดา บุญญาณเมธาพร
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้เข้าร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มองค์กรชุมชนให้มีศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้นำองค์ความรู้ด้านพัฒนบริหารศาสตร์จากสถาบันไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป