Designing ‘Re-Globalization’ Pathways for Sustainable Development: Lessons for Decarbonization and Deforestation

Designing ‘Re-Globalization’ Pathways for Sustainable Development: Lessons for Decarbonization and Deforestation

Designing ‘Re-Globalization’ Pathways for Sustainable Development: Lessons for Decarbonization and Deforestation

Keynote Speaker

Prof. Benjamin William Cashore

Institute for Environment and Sustainability, National University of Singapore, Singapore

The 2nd NIC-NIDA Conference, 2023
Friday, August 18, 2023

          ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาพูดคุยในประเด็นของการตัดไม้ทำลายป่า แต่คงเป็นเรื่องยากที่เราจะพูดกันได้ภายในระยะเวลา 45 นาทีนี้ ผมอาจมีประเด็นโต้แย้งมากมายเกี่ยวกับนโยบายการลดโลกร้อนในสายวิชาการของผมกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกเราจริง ๆ การพัฒนาเศรษฐกิจอาจช่วยให้คนมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ก็ทำให้คนคำนึงถึงสภาวะโลกร้อนน้อยลง การพยายามลดโลกร้อนของหลายประเทศ ต่างเป็นไปในรูปแบบของการแก่งแย่งกำไรเพื่อสนับสนุนการเติบโต ซึ่งมีข้อมูล 2 ประเด็นที่สำคัญ คือ

          1) การลดความยากจนเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวเลข GDP กับการเติบโต ความยากจนของประชากรมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก เช่นเดียวกับประเทศไทยเมื่อตัวเลข GDP สูงขึ้นความยากจนก็ลดลง

          2) สภาวะโลกร้อนและการที่สิ่งมีชีวิตใต้น้ำเริ่มสูญพันธุ์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบนบกด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนก่อให้เกิดผลลบ ในทุกปีอากาศจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ และการลดจำนวนป่าดิบลงในขณะที่การตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยก็เช่นกันที่มีต้นไม้ลดลงแต่มีปริมาณคาร์บอนมากขึ้น นี่อาจเป็นหลักฐานสำคัญว่าเป็นการกระทำโดยฝีมือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ไฟไหม้ป่ารุนแรงที่ส่งผลต่อชีวิต แต่เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้

Designing ‘Re-Globalization’ Pathways for Sustainable Development: Lessons for Decarbonization and Deforestation

          คำถามที่สำคัญคือ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามแก้ไขสถานการณ์โลกร้อน ในการลดอุณหภูมิ 2-5 องศา ข้อตกลงในหลายประเทศเห็นด้วย คือ การที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน แต่จะหาทางแก้ไขอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจโลกไม่เห็นการตัดไม้ทำลายป่าเป็นเรื่องสำคัญ มันทำให้โลกร้อนมากขึ้น และจะลดปัญหานี้ได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ประตูบานที่หนึ่งก็มีช่องว่างระหว่างนโยบายและผลลัพธ์ เรามีข้อตกลงและวิธีดำเนินการแบบระยะสั้น ซึ่งไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ส่วนประตูบานที่สอง เราจะต้องปิดช่องว่างนี้ได้อย่างไร และเราจะเริ่มเปิดประตูบานที่สองนี้ได้อย่างไร ผมขอเสนอว่าในการเปิดประตูบานที่สองมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ

  1. เราต้องแยกแยะเป้าหมายให้ชัดเจน
  2. เราต้องมองว่าประเด็นสภาวะอากาศและการตัดไม้ทำลายป่า เป็นปัญหาที่เลวร้ายที่สุด
  3. การสร้างนโยบายจากด้านล่างสู่ด้านบน
  4. การมีนโยบายจากบนสู่ล่าง เพื่อมาช่วยสนับสนุนตามขั้นตอนที่ 3

          เราต้องพิจารณาดูว่าตอนนี้เราอยู่ในกลุ่มประเภทไหน ประเภทที่ 1 คือ ทุกปัญหามีความสำคัญเท่ากันหากเราต้องทำลายชีวิตใต้น้ำ หรือตัดไม้ทำลายป่า ประเภทที่ 2 คือ การสร้างสรรค์สังคมโดยไม่สนใจความเป็นอยู่ของประชาชน หาทางให้เศรษฐกิจเติบโต เราต้องใช้ Feasibility Analysis ซึ่งนี่อาจลดความสำคัญของเป้าหมายอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องหาวิธีเจรจาว่าจะแก้ไขปัญหาสังคมและเศรษฐกิจอย่างไร ผมมี 4 วิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ คือ

  1. เวลากำลังจะหมด ปัญหาอื่น ๆ อาจไม่มีเรื่องเวลาเป็นตัวกำหนด แต่ปัญหานี้มีเวลาเป็นตัวกำหนด หากช้าอาจจะสายเกินไป
  2. คนที่กำลังแก้ไขปัญหา คือคนที่กำลังสร้างปัญหาเช่นกัน ดังนั้น การที่เราเดินทางไปที่ต่าง ๆ ไปเผยแพร่ความรู้ เราก็สร้างก๊าซคาร์บอนเหมือนกัน แล้วเราจะลดมันอย่างไร
  3. นโยบายต่าง ๆ ไม่ค่อยคำนึงถึงอนาคต
  4. ไม่มีศูนย์กลางอำนาจในการแก้ไขปัญหานี้
Designing ‘Re-Globalization’ Pathways for Sustainable Development: Lessons for Decarbonization and Deforestation

          ดังนั้น เราจะทำอย่างไรที่จะออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างที่สำคัญ คือ ที่เยอรมนี เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เรารู้จัก Global Crisis มีนโยบายพลังงานสะอาด โดยได้รับสิทธิประโยชน์ในการติด Solar Cells และมีการคืนทุนภายใน 20 ปี รัฐบาลจะซื้อพลังงานที่ผลิตจาก Solar Cell จากแต่ละบ้าน ดังนั้นหลายบ้านอยากจะเข้าร่วม และทำให้เกิดธุรกิจพลังงานสีเขียว จึงทำให้ประเทศเยอรมนีขยับตัวไปเป็นกลุ่มพลังงานสีเขียว และทุกวันนี้ หากบ้านไหนไม่ติด Solar Cell ถือว่าเป็นคนที่ไม่น่ารักสำหรับประเทศ และรัฐบาลหลายประเทศก็พยายามนำนโยบายนี้ไปใช้กับ 160 ประเทศทั่วโลก และสิ่งนี้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ทำให้เราได้เห็นว่าเราควรจะต้องเริ่มต้นแก้ปัญหา เพื่อจะสามารถสร้างอนาคตที่ดีของเราได้