โดย รศ.ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
“การส่งเสริมการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เกิดปัญหา “ขยะ” การบริหารจัดการขยะในชุมชน การส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการพัฒนาพื้น การจัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมสินค้ารีไซเคิล” จึงเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้การจัดการขยะ การผลิตสินค้าจากขยะ และยังเป็นพื้นที่ขายขยะอีกด้วย”
สวัสดีค่ะดิฉัน รศ.ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันนี้ก็จะมาชวนคุยเกี่ยวกับบทบาทของนิด้าในการทำงานในด้านการจัดการขยะชุมชน ดิฉันเป็นตัวแทนของสถาบันในการทำงานร่วมกับโครงการ U2T เมื่อปี 2564 โครงการที่ดิฉันรับผิดชอบที่เกาะลันตาใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวก็ทำงานในด้านการท่องเที่ยวส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งเสริมสินค้าชุมชน ต่อมาเราก็ได้พูดคุยกับชาวบ้านในเรื่องของการทำงานว่า ถ้าเราส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเดียวบางทีก็จะทำให้เกิดขยะ ในเกาะค่อนข้างมาก ก็เกิดแนวคิดขึ้นว่าเรามาร่วมกันจัดตั้งศูนย์ในการจัดการขยะ ชื่อว่าศูนย์นวัตกรรมสินค้ารีไซเคิลลันตา

ศูนย์นี้มีชื่อย่อว่า LIRPC ศูนย์นี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือบริหารจัดการขยะในชุมชน เป็นเป็นวัตถุประสงค์ข้อแรกและวัตถุประสงค์ข้อที่ สอง ก็เน้นในเรื่องของการส่งเสริมอาชีพของคนในชุมชนด้วยการที่มีการขายขยะรีไซเคิล แล้วก็อบรมให้คนในชุมชนได้รับความรู้ในเรื่องของการจัดการขยะแล้ว ในการผลิตสินค้า หรือที่เราเรียกว่าเป็นการ upskill ให้กับคนในชุมชนให้ สามารถผลิตสินค้าจากขยะได้แล้วก็นำมาขายผ่านทางเพจที่เราจัดทำขึ้น

การทำงานของเราเป็นการทำงานร่วมกันทั้งภาควิชาการ ก็คือดิฉันในฐานะตัวแทนของสถาบัน แล้วก็มีผู้นำชุมชนเข้ามาร่วมกับเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นนายกเทศมนตรีหรือว่าผู้ใหญ่บ้านก็ได้มาร่วมให้สถานที่ในการจัดโครงการ แล้วก็เข้ามาร่วมโครงการกับเราด้วย ส่วนชาวบ้านในชุมชนเกาะลันตาใหญ่ก็เริ่มรู้จักสถาบันเรามากขึ้น มีการเก็บขวดน้ำที่ใช้แล้ว ขวดพลาสติกต่างๆ เอาไว้ เพื่อจะมาแลกประจำสัปดาห์ เราก็มีทีม U2T เป็นทีมหลักในการที่มาช่วยเราคัดแยกขยะ

ในขณะเดียวกันเราก็ทำหน้าที่ในการส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนด้วยโดยการเชิญวิทยากรในท้องถิ่นเองที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าจากขยะมาให้ความรู้กับคนในชุมชน แล้วก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในขณะนั้นเนี่ยเรามีองค์กรภาคีเข้ามาร่วมทำงานกับเราค่อนข้างเยอะ อาทิเช่น กลุ่มสวีเดนลันตา ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เกาะลันตาอยู่แล้ว แล้วก็บริษัท Nook’s Eco Factory ซึ่งเขาก็ทำเกี่ยวกับการเอาสินค้ามารีไซเคิล เราก็ได้ความรู้ได้เรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านด้วย แล้วก็ชาวบ้านเองก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการคัดแยกขยะ เป็นการปลูกจิตสำนึกให้รู้จักรักสิ่งแวดล้อม ให้รู้จักรักทะเลของคนชาวเกาะลันตาก็เป็นผลงาน หนึ่ง ที่ชาวนิด้าภาคภูมิใจแล้วก็อยากนำเสนอในวันนี้ค่ะ