โดย รศ.ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
“ท้ายที่สุดของการพัฒนาพื้นที่ชุมชนต่างๆ คนในชุมชน ผู้นำชุมชน ต้องมีความตระหนักในการดูแลและพัฒนาพื้นที่ของตนเอง เพราะคนกลุ่มนี้จะต้องทำงานเหล่านี้ต่อไป เรามีหน้าที่พยายาม Empower คนในชุมชน ให้ได้ตระหนักถึงศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
อยากจะมาเล่าเกี่ยวกับการบริหารจัดการว่า ศูนย์ ฯ ของเรามีวิธีการในการบริหารจัดการอย่างไร หนึ่ง เราเอาวิชาการเข้าไปเสริม สอง เราพยายามที่จะเอ็มพาวเวอร์คนในชุมชน ให้เขาตระหนักถึงศักยภาพของเขาเอง เพราะว่าคนในชุมชนหลายคนมีความสามารถในเรื่องการทำสินค้า อย่างเช่น กระเป๋ารีไซเคิล เขาสามารถที่จะเอาถุงที่เป็น ถุงซีเมนต์ที่ทิ้งแล้วอย่างนี้ เอามาทำเป็นกระเป๋า หรือเชือก เค้าก็เอาเชือกที่ทิ้งแล้วเป็นขยะ มาจักสาน มาทำเป็นงานศิลปะซึ่งแบบว่าสวยงามมาก แล้วก็ Empower ให้เขาได้มีช่องทางในการที่จะมานำเสนอผลงาน

ในขณะเดียวกันก็ได้เป็นวิทยากร สอนในหมู่บ้าน และนอกจากนั้นแล้วเขายังสามารถเอาสินค้าไหนมาออกร้านกับเรา เวลาที่เรามีการจัดงาน แล้วเราก็เชิญผู้นำชุมชนเข้ามาร่วม โดยที่มีตั้งแต่เทศมนตรี นายกเทศมนตรี ผู้ใหญ่บ้าน 8 หมู่บ้านเลย เข้ามาร่วมกับเรา ในการเชิญมาครั้งนี้ เราก็บอกกับทุกท่านว่า เมื่องานเสร็จแล้วก็จะส่งมอบ ศูนย์ นี้ให้กับชุมชนดูแลต่อไปแล้วผลงานที่ทางเราภาคภูมิใจ ก็คือ เราทำหมอนจากหลอดที่เป็นหลอดที่ทิ้งแล้ว ตัดเป็นไส้หมอนแล้วก็มอบให้คนพิการ ผู้ที่ติดเตียง ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนเกาะลันตาใหญ่

โครงการนี้ก็ใช้เวลาทำตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงธันวาคม 2564 ก็ถือได้ว่าใช้เวลาค่อนข้างน้อย แต่ว่าได้ผลมาก แล้วก็เราก็ได้ทำงานนอกจากในโครงการเราแล้ว เรายังไปร่วมการจัดการขยะของรักทะเลลันตาอะไรต่างๆ โครงการที่เขาจัดการเก็บขยะในเกาะ เราก็ไปร่วมงานกับเขาด้วย ก็ถือได้ว่าเราก็เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการขยะ ผลสุดท้ายก็คือการสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนไปเปลี่ยนทัศนคติ เกี่ยวกับเรื่องของการทิ้งขยะ แล้วก็ให้เขาเห็นคุณค่าของขยะ สามารถนำขยะในบ้านมารีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนจุดหนึ่งของสถาบันที่ทำงานร่วมกับชุมชน

แล้วก็ทำงานในลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่ง และสร้าง Engagement ให้กับชุมชน ในการอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อม เพราะว่าเรารู้ว่าคนที่จะรักษาทะเล รักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปก็คงไม่ใช่พวกเราที่เป็นนักวิชาการ แต่คงจะเป็นชาวบ้านในชุมชน เป็นผู้นำชุมชนที่จะทำงานนี้ต่อไป
เราก็ส่งมอบกิจกรรมดีๆนี้ให้เป็นของขวัญให้กับชาวลันตาในช่วงโควิด ซึ่งแม้ว่าเวลาการทำงานเราจะสั้น ก็คือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงธันวาคม 2564 แต่คิดว่าผลงานที่ทางนิด้าได้ฝากเอาไว้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนา ช่วยจัดการขยะตาม SDG ที่ 12 ค่ะ