โดย รศ.ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
“การบริหารจัดการศูนย์นวัตกรรมสินค้ารีไซเคิล เราต้องเริ่มที่การแบ่งกลุ่มการทำงาน คือ 1. กลุ่มคนชอบลุย มีหน้าที่ลงพื้นที่เก็บขยะ รับขยะจากคนในชุมชน และคัดแยกขยะ 2. กลุ่มคนชอบคุย ทำหน้าที่ในการพูดคุยกับคนในชุมชน และประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ 3. กลุ่มชอบสวย ทำหน้าที่นำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นการแบ่งกลุ่มเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน ตามความชอบ ความถนัด และความเหมาะสม และเราต้องนำความรู้ทางวิชาการ เข้ามาช่วยชุมชนในการพัฒนา”

อยากจะมาเล่าเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ว่า ศูนย์ของเราเนี่ยมีวิธีการในการบริหารจัดการอย่างไร เราก็จะแบ่งทีมของน้องๆ U2T ที่ทำงานกับเรา ก็คือเป็นน้องบัณฑิต แล้วก็ประชาชนทั่วไป แล้วก็จะมีน้องที่จบการศึกษามาใหม่ๆ แล้วก็ยังจะมีนักศึกษาด้วย น้องกลุ่มนี้ก็จะมาช่วยเรา แล้วก็จะแบ่งเป็นกลุ่มๆ กลุ่มแรกก็จะเป็นกลุ่มที่ชอบลุยๆ คำว่าชอบลุยก็หมายความว่าน้องเค้าก็จะชอบที่จะทำงานในการแยกขยะ

อันนี้ก็จะลุยไปเก็บขยะจากชุมชนเอามาคัดแยก แล้วก็รับขยะจากชาวบ้าน ชาวบ้านก็จะนั่งซาเล้งมา แล้วก็เอาขยะมาให้เราแล้วก็จับใส่ถุงคัดแยกอันไหนเป็นขวด อันไหนเป็นป็นแก้ว น้องก็จะทำ แล้วก็อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มชอบคุย กลุ่มชอบคุยนี้เราก็จะให้เขาทำด้านประชาสัมพันธ์ในการจัดทำเพจ ในการออกไปประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านให้คนเข้ามาร่วมกับโครงการเรา แล้วก็มีกลุ่มชอบสวย ก็คือกลุ่มนี้ก็จะเป็นพรีเซ็นเตอร์ในการนำเสนอ

นี่คือสิ่งที่เราพยายามที่จะแบ่งให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน แล้วก็ผลงานของเราก็ได้รับการยอมรับค่อนข้างดีจากคนในชุมชน เพราะว่าเราบริหารจัดการโดยการที่เราเอาความรู้ในทางวิชาการเข้ามาช่วยในการทำเพจ ที่จะประชาสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชนได้รับรู้ เรามีเฟซบุ๊กของเราเองด้วย มีเพจเฟซบุ๊ค มีการโปรโมททุกกิจกรรมผ่านทางเฟสบุ๊คของเรา แล้วก็มีชมย้อนหลังได้ เวลาที่เราจัดกิจกรรมมีวิทยากรมาอบรม เราก็จะให้คนเข้ามากดดูได้กดไลค์กดแชร์ได้เหมือนกันนะคะ