โดย รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ตั้งแต่สร้างพื้นฐานเรื่องนวัตกรรมเรื่องภาคการผลิตอุตสาหกรรม และหาก 3 เรื่องนี้เชื่อมโยงกันได้มีการขับเคลื่อนเดินหน้าที่เป็นรูปธรรมได้ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม
กลับมามองที่ประเทศไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเองก็มีการพัฒนาการลงทุนในเรื่องของระบบคมนาคมขนส่งมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของท่าอากาศยาน เรื่องของระบบราง อย่างในกรุงเทพมหานครเอง ก็คงจะเห็นเรื่องของรถไฟฟ้าซึ่งมีเครือข่ายที่ครอบคลุมมากขึ้น ในต่างจังหวัดก็มีโครงการในเรื่องของการพัฒนาระบบราง เรื่องของมอเตอร์เวย์ แต่จริงๆแล้ว การพัฒนาเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานคงหยุดแค่นี้ไม่ได้ เพราะว่าอย่างที่ได้บอกเลย ว่าคีย์เวิร์ดสำคัญคือคำว่า Resilient infrastructure ก็คือโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับกับความเปลี่ยนแปลงหรือการเปลี่ยนแปลง หรือพูดง่ายๆว่า เราจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาคการผลิตภาคอุตสาหกรรม ให้มีความสามารถในการทนทาน หรือรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกได้
เพราะต้องบอกเลยว่าปัจจุบันนี้โลกมีความเปลี่ยนแปลงเยอะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงในเชิงประชากรศาสตร์ ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานในยุคใหม่และในอนาคต ก็จะต้องรองรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลกสามารถที่จะปรับตัวกับโลกในยุคใหม่ได้ นี้ก็รวมไปถึงภาคการผลิตในส่วนของอุตสาหกรรมด้วย
ผมคิดว่าอีกคำหนึ่ง ที่น่าสนใจที่จะมาสอดรับกับคำว่า infrastructure ก็คือคำว่า connectivity นั่นเอง ในส่วนของ connectivity อาจจะต้องมองทั้งในระดับประเทศเองแล้ว ก็จะต้องมองไกลไปสู่ระดับภูมิภาคแห่งประเทศไทยนั้นก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง เป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนหรืออาเซียนคอมมูนิตี้เอง เราอาจจะต้องมองให้ภาพให้ใหญ่ขึ้น ให้เห็นถึงการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานในระดับภูมิภาค เพราะนั่นก็จะเป็นอีกโอกาสสำคัญหนึ่ง ที่ทำให้เราสามารถเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับภูมิภาคได้ ขยายฐานผู้บริโภคให้ใหญ่ขึ้น แล้วก็ส่งผลให้สร้างโอกาส ในการเติบโตทางเศรษฐกิจและแก้ปัญหาต่างๆได้มากขึ้น
จริงๆแล้วพูดถึงเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ใช่แค่เรื่องของเศรษฐกิจเท่านั้นที่จะเข้ามาช่วย แต่โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นระบบคมนาคมขนส่งระบบของการโทรคมนาคมการสื่อสาร ก็จะช่วยแก้ปัญหาสังคมไปได้ด้วย การมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ทั่วถึง ผู้คนประชาชสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ในต้นทุนหรือราคาที่ต่ำ ก็จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงการรับบริการจากภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา การสาธารณสุข ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยให้บริการได้ เพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีก็ถือว่ามีการพัฒนาไปมาก ซึ่งตรงนี้เองถ้าเราไปมองใน SDG ข้อที่ 9 มันจะเกิดความเชื่อมโยงกันและระหว่างคำว่า infrastructure ซึ่งเน้นอยู่แล้ว ในข้อนี้แล้วคำว่า innovation ก็คือนวัตกรรม ในส่วนของ innovation หรือนวัตกรรมเอง ก็ต้องอาศัยความเชื่อมโยง อาจจะเอามาใส่โครงสร้างพื้นฐาน แล้วก็ทำให้โครงสร้างพื้นฐาน มันสามารถให้บริการตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้ดีขึ้น
ทุกท่านคงเห็นแล้วว่า SDG ข้อที่ 9 เมื่อมองภาพรวมจะมีความเชื่อมโยงกันทั้ง 3 เรื่อง ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน เรื่องนวัตกรรม เรื่องภาคการผลิตอุตสาหกรรมและหาก 3 เรื่องนี้ เชื่อมโยงกันได้ มีการขับเคลื่อนเดินหน้าที่เป็นรูปธรรมได้ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะเดินหน้าไปถึงจุดนั้นได้ต้องอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และที่สำคัญประชาชนทุกคนให้ความสำคัญหันมาสนใจหาความรู้และนำความรู้ที่ได้ นำไปปรับ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
SDG ข้อที่ 9 ก็คงจะบรรลุไปได้ไม่ยาก และทำให้เรานั้นก้าวสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพครับ