การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการสร้างสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากร 3 สิ่งนี้ต้องถูกพัฒนาควบคู่กันไป “เศรษฐกิจยั่งยืน แต่สังคมย่ำแย่” การพัฒนาก็ไปด้วยกันไม่ได้
มาร่วมเปิดมุมมอง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ไปด้วยกัน ผ่านบทสัมภาษณ์จากผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ “พัสกร ยาชูชีพ” กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท ธุรกิจเหล็กดี จำกัด
“สังคมจะอยู่ดีได้ ต้องเกิดจากคนช่วยกันพัฒนา เพราะ “คน” เป็นกุญแจหลักในการพัฒนา” เสียงสะท้อนจาก พัสกร ยาชูชีพ ตัวแทนผู้สำเร็จการศึกษา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ในฐานะผู้บริหาร ที่ชี้ให้เห็นว่า “คน” คือกำลังหลักในการขับเคลื่อนสังคม

การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการสร้างสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากร 3 สิ่งนี้ต้องถูกพัฒนาควบคู่กันไป “เศรษฐกิจยั่งยืน แต่สังคมย่ำแย่” การพัฒนาก็ไปด้วยกันไม่ได้ เราจะต้องเดินไปพร้อมกัน โดยมีกุญแจหลักในการพัฒนาคือ “มนุษย์” การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นการสร้างคุณค่าในระยะยาวให้กับสิ่งนั้น เราต้องช่วยกันพัฒนาในระยะยาว เราจะเดินไปในทิศทางใด ประเทศเราจะเป็นอย่างไรที่มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จไปด้วยกัน
ปัจจุบันโลกของเรามีปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น จากที่มีปัญหาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ก็มีสิ่งที่เป็นปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมลพิษ โรคระบาด ปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ถ้าหากเราไม่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ สังคมและประเทศจะไร้ทิศทาง ไม่สามารถเดินต่อไปด้วยกันได้ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะทำให้สังคมและประเทศมีทิศทาง ทุกสิ่งก็จะสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้
ในการทำงานของเรา เราเน้นการ “สร้างคน” พัฒนาคนซึ่งเป็นหัวใจหลักเพื่อการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน เราต้องสร้างศักยภาพของคน ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า สร้างความเชื่อมั่น เพราะถ้าเชื่อมั่นในตัวเอง และรู้ว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จ และเราในฐานะผู้บริหารองค์กร ก็ต้องทำงานบนหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และสร้างเสริมให้พนักงานในองค์กรกล้าแสดงออก มีความคิดเป็นของตัวเอง เพราะในการทำงานไม่ว่าคุณจะอยู่ในระดับบนหรือระดับล่าง จะต้องฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน บางครั้งผู้บริหารอาจจะตกหล่นข้อมูลบางอย่าง แต่พนักงานสามารถส่งรายละเอียดนั้นให้เรา ถ้าเราไม่ให้เขากล้าแสดงออกหรือเสนอความคิดเห็นองค์กรอาจจะไม่ได้รับข้อมูลนั้น เราก็ไม่สามรถนำไปแก้ไขหรือปรับปรุงองค์กรเราได้
เรียนต่อกับนิด้าเป็นอย่างไร
การมาเรียนต่อนิด้า เหมือนมาเติมเต็มในสิ่งที่เรายังขาดไป เพราะคณาจารย์ที่มาสอนต่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จากที่เรามีข้อมูลอยู่ 1 ถึง 10 แต่พอมาเรียนแล้วเราจะรู้มากกว่า 10 ไปถึง 100 จาก 100 ไปเป็นหลักพันหลักหมื่น สิ่งที่เราได้เก็บไปเป็นแต่สิ่งดี ๆ สิ่งที่เป็นจริง สามารถทำได้จริง นำไปปรับใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานของเราได้จริง บนองค์ความรู้ที่ทันสมัย ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ สังคมเพื่อนมีความหลากหลายในสายอาชีพ ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ไม่เพียงแค่ให้ความรู้ แต่นิด้าสอนให้เรามีหลักการ มีอุดมการณ์ พัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร พัฒนาประเทศ และสอนให้รู้ว่าเราควรจะปฏิบัติตนในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่ดีให้แก่ประเทศชาติอย่างไร
นิด้าเป็นแหล่งขุมทรัพย์ ที่รวมความรู้ รวมบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ รวมถึงตำราวิชาการ เป็นแหล่งที่บ่มเพาะชั้นดี การมาที่นิด้าทำให้ได้รับสิ่งที่ดีได้ครบถ้วน ตอบโจทย์ หลากหลายมุมมอง ทุกมิติ เปรียบเสมือน “ดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ” ไม่ว่าจะเมล็ดพันธุ์อะไรมาปลูกก็เจริญงอกงาม
“การมาเรียนต่อเหมือนการ “ขึ้นทางด่วน” เราไปต่อแบบมีจุดหมาย และไปต่อได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ”