“BCG พอเพียง” Series EP15 โรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร (Floating Hybrid Solar Farm) อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

“BCG พอเพียง” Series EP15 โรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร (Floating Hybrid Solar Farm) อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา
ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง

            โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อลดต้นทุนจากการนำเข้าพลังงานของไทย และเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ปัจจุบันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้วในปี 2565 และกำลังจะเป็นเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของอุบลราชธานี สอดคล้องกับเป้าหมายในการยกระดับอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศไทย สู่ความเป็นผู้นำพลังงานสะอาดในอาเซียน

จุดเริ่มต้น
            ฟาร์มโซลาฟาร์มลอยน้ำขนาดมหึมาของเขื่อนสิรินธรในจังหวัดอุบลราชธานี ผลงานจากการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย เป็นที่แรกจากทั้งหมด 16 แห่ง ตามแผนการแปลงเขื่อนของ กฟผ. ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย ให้เป็น ‘ฟาร์มโซลาเซลล์พลังน้ำลอยน้ำ’ แบบผสมผสาน และมีกำหนดเปิดตัวทั่วประเทศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อตอบสนองต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและความต้องการที่ผันผวน ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้มีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 47,000 ตันต่อปี ตอบโจทย์เป้าหมายการลดภาวะโลกร้อน และช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน “ประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ สูงกว่าที่ติดตั้งบนบกประมาณ 4 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากความเย็นของน้ำ’ – คุณอาทิตย์ พรกุณา วิศวกรอาวุโสฝ่ายโรงไฟฟ้าพลังน้ำสิรินธร ให้ข้อมูล

ความมั่นคงทางพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
            หมู่เกาะอันกว้างใหญ่ของโซลาเซลล์ 144,000 แผงที่จัดเรียงเป็นเกาะสี่เหลี่ยมเจ็ดเกาะ ที่สะท้อนแสงระยิบระยับและส่องประกายออกไปกว้างไกลนี้ สร้างเสร็จในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อให้บริการ 3 จังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี ด้วยต้นทุนกว่า 100 ล้านบาท บนพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร เทียบเท่ากับสนามฟุตบอล 70 สนาม แต่ก็เป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ เพียง 0.2 ถึง 0.3 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวน้ำ 288 ตารางกิโลเมตรของเขื่อนสิรินธร
การออกแบบโครงการเน้นให้มีผลกระทบต่ำ อาทิ เรือท้องแบนซึ่งติดตั้งแผงโซลาเซลล์กันความชื้น หรือโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) ทำจากพลาสติก HDPE (โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง) ที่รีไซเคิลได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลังจากประกอบกันบนบกและลากไปไว้บนน้ำโดยใช้ทีมเจ็ตสกี ส่วนเล็กๆ ของแต่ละเกาะจะถูกยึดรวมเข้าด้วยกันโดยใช้เครือข่ายเคเบิลและสมอคอนกรีตรับน้ำหนักจนถึงพื้นของอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ การใช้สายเคเบิลใต้ดินเชื่อมต่อกล่องเชื่อมโยงสายเคเบิลลอยน้ำและอาคารสวิตช์เกียร์ ช่วยลดการรบกวนในการสัญจรทางเรือและสิ่งมีชีวิตในน้ำให้น้อยที่สุด มุมของแผงเป็นแบบคงที่แต่มีช่องว่างระหว่างแผงช่วยให้แสงแดดส่องผ่านลงไปในน้ำได้ จึงช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้น้ำด้านล่าง ดังนั้น ชีวิตที่อาศัยอ่างเก็บน้ำ ตั้งแต่เรือประมงขนาดเล็กไปจนถึงเรือโป๊ะเช่าซึ่งเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว จึงยังคงดำเนินต่อไปเช่นที่เคยมีมา

SDG7 #SDG9 #SDG13 #SuDSESC #Nida #NIDAThailand

            ท่านใดสนใจรายละเอียด สามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ “Thailand’s BCG Transformation: 40 Case Studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” หน้า 142-147 ข้างล่างได้เลยค่ะ