โดย ดร.พรพรหม สุธาทร คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
การลงทุนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วยหลักการ ESG นั้น นักลงทุนสามารถอ้างอิงได้ว่าบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วยหลัก ESG อย่างดีนั้น ก็จะมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจดั้งเดิมของเขาได้อย่างดีมากๆ แล้ว
ในคลิปที่ผ่านมาเราคงได้ทราบแล้ว ว่าบริษัทที่ยั่งยืนจะให้ความสำคัญกับ 3 เสาหลักของความยั่งยืน ก็คือ สังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม บริษัทที่ยั่งยืนนั้นจะไม่สนใจเพียงแค่กำไรหรือว่าด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว บริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัททำได้ดีมากอยู่แล้ว และก็ทำได้เหนือมาตรฐานด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าหลายบริษัทจดทะเบียนก็ยังทำได้แค่เพียงขั้นต่ำในการผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ความคิดในการที่จะทำมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำอาจจะต้องเปลี่ยนไป เพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกลต. ได้ออกกฎให้บริษัทจดทะเบียนทุกบริษัท ยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน โดยที่ทุกบริษัทต้องรายงาน 56-1 หรือ One Report รายงานนี้ไม่ใช่เพียงแค่การรายงานแบบดั้งเดิมหรือการเอารายงานเดิมมารวมกัน แต่เป็นการยกระดับให้ครอบคลุมความยั่งยืนที่เราเรียกชื่อว่า ESG แล้ว ESG คืออะไร ESG ย่อมาจาก Environmental Social และ Governance เราจะเห็นได้ว่า ESG ประกอบไปด้วยมุมมองของสิ่งแวดล้อม สังคม แล้วก็การกำกับกิจการหรือธรรมาภิบาลที่ดีครับ
เราจะเห็นว่า ESG มี 2 ประเด็นที่ตรงกับ 3 เสาหลักของความยั่งยืนอยู่แล้วก็คือ เรื่องของ E – Environmental และ S – Social แต่มีการเพิ่มเติมเรื่องของ G เรื่องของ Governance คือการกำกับกิจการที่ดี เพิ่มเติมเข้ามา เพื่อทำให้บริษัทได้ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและธรรมาภิบาล
แล้วบริษัทจะต้องรายงานเรื่องอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของ E – Environmental หรือสิ่งแวดล้อม บริษัทจะต้องรายงานเรื่องของมลพิษที่ปล่อยออกไป รวมถึงเรื่องของการปล่อยคาร์บอน ผลกระทบด้านเรื่องของ Climate Change หรือว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นต้น
ด้านสังคม หรือว่า Social บริษัทจะต้องรายงานสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพนักงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความหลากหลาย ความเท่าเทียมทางเพศ รวมไปจนถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสังคมที่เกี่ยวข้องและสังคมรอบข้าง ไปจนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน
ในด้าน Governance หรือว่าธรรมาภิบาลการกำกับกิจการ บริษัทจะต้องรายงานเรื่องความโปร่งใส จริยธรรม ไปจนถึงความหลากหลายของบอร์ดบริหารที่มีอยู่ในบริษัท
เราจะเห็นได้ว่าบริษัทที่สามารถรายงานเรื่องราวเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วนก็จะผ่านเกณฑ์ของกลต. ได้ และบริษัทไหนสามารถที่จะยกระดับการรายงานของข้อมูลให้สูงขึ้นโดยการใช้ตัวชี้วัดระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของGRI SASB หรือว่า IASB หรือ ตัวชี้วัดที่อาจจะตามมาอีกในอนาคต
บริษัทก็จะมีมาตรฐานความยั่งยืนที่สูงขึ้นแล้วก็จะได้รับการยอมรับจากนักลงทุนมากยิ่งขึ้น บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วยหลัก ESG มีข้อดีหลายประการ ยกตัวอย่างเช่นข้อที่หนึ่ง บริษัทจะเป็นที่สนใจของนักลงทุนเป็นอย่างมากเนื่องจากในอดีตนักลงทุนจะสนใจแต่ไฟแนนเชียลแฟคเตอร์หรือตัวเลขที่บ่งบอกประสิทธิภาพและศักยภาพของธุรกิจนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราหนี้สินต่อทุน DE Ratio หรือว่า PE Ratio ต่างๆ แต่ในปัจจุบันนักลงทุนให้ความสนใจสิ่งที่เรียกว่า Non Financial Factor อย่าง ESG มากยิ่งขึ้น เนื่องจาก Non Financial Factor เหล่านี้เป็นตัวที่สามารถบ่งบอกความมั่นคงของกิจการได้ นักลงทุนก็คงอยากจะลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนที่มั่นคง การลงทุนกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วยหลักการ ESG นั้น เขาก็จะมั่นใจได้ว่าเงินที่เขาลงทุนไปจะได้รับผลตอบแทนกลับมาอย่างเหมาะสมและได้ผลตอบแทนกลับมาในระยะยาว
และนักลงทุนสามารถอ้างอิงได้ว่าบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วยหลัก ESG อย่างดีนั้น บริษัทเหล่านี้ก็จะมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจดั้งเดิมของเขาได้อย่างดีมากๆแล้ว เนื่องจากถ้าเขาไม่สามารถจัดการการดำเนินธุรกิจภายในได้ดี เขาคงไม่สามารถที่จะมาดูแลเรื่องของสังคมสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ฉะนั้นบริษัทที่ดีไม่ใช่บริษัทที่มีตัวเลขขณะกำไรที่ดีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องเป็นบริษัทที่ดีอย่างรอบด้านด้วย
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่า ทำไมบริษัทจดทะเบียนและบริษัทขนาดใหญ่จะต้องให้ความใส่ใจกับการดำเนินธุรกิจด้วยหลัก ESG รวมถึงเป้าหมายเอสดีจีทั้ง 17 ประการพอสิ่งแวดล้อม อาจจะไม่มีโอกาสให้เราได้ดูแลอีกต่อไปแล้วถ้าไม่เริ่มดูแลมันในวันนี้
จากข้อมูลทั้งหมด เราจะเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมไม่ใช่สิ่งที่ดูน่าเบื่ออีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่น่าสนใจแล้วก็น่าติดตามเพราะสิ่งแวดล้อมอยู่รอบตัวคุณครับ