Sustainable Development Goals Ep.7 การสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน Part 1

Sustainable Development Goals Ep.7 การสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน Part 1

“ปัญหาระยะประชิดอย่างหนึ่งที่เราเห็นได้อย่างชัดเจน อย่างเช่นปัญหาฝุ่นควันขนาดเล็ก PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหา ที่ไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ซึ่งปัญหาเรื่องฝุ่นเหล่านี้มีจุดกำเนิดจากแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นว่า การกระทำของคนรุ่นก่อน สามารถส่งผลกระทบต่อคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นหลังได้ หรือปัญหาขยะล้นโลกจากการผลิต แนวคิดการแสดงความรับผิดชอบในสังคม นับเป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรภาคธุรกิจที่ จะมองบทบาทของตนเองในการรับผิดชอบต่อสังคม ความยั่งยืนในการบริโภคและการผลิต เป็นวิธีการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน”

โดย ผศ.ดร.พราวพรรณ ธารสิทธิ์พงษ์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

            สวัสดีค่ะ ผศ.ดร.พราวพรรณ ธารสิทธิ์พงษ์ วันนี้จะมาคุยเรื่องการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนค่ะ ซึ่งอยู่ภายใต้ SDG ในกรอบข้อที่ 12 ว่าด้วยความรับผิดชอบในการบริโภคและการผลิตค่ะ

Sustainable Development Goals Ep.7 การสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน Part 1

 

           ความยั่งยืนในการบริโภคและการผลิต หมายถึง วิธีการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งรวมการใช้แหล่งทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน นำกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิล การลดของเสียการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ในแง่ของการบริโภค คือ การเลือกใช้อย่างมีสติ มีความรอบรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เราใช้ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน

Sustainable Development Goals Ep.7 การสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน Part 1

            นิยามที่ให้ไว้ โดยคณะกรรมการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ในการจัดทำรายงานฉบับแรก ชื่อ อนาคตของเรา ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2530 บอกไว้ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ วิถีของการพัฒนาที่สามารถตอบสนอง ความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนอง ความต้องการของคนรุ่นหลัง ปัญหาระยะประชิดอย่างหนึ่ง ที่เรามักจะเห็นได้อย่างชัดเจนในชีวิตประจำวันของเรา นั่นคือปัญหาจากฝุ่นควันขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งการแก้ปัญหายังทำได้ไม่เต็มที่นัก ฝุ่นควันขนาดเล็กเหล่านี้ เราไม่สามารถระบุแหล่งกำเนิดได้ แต่เราสืบค้นได้ ว่าเกิดจากอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมหนัก การขนส่ง การก่อสร้าง สิ่งนี้เองเป็นตัวอย่างทำให้เราเห็นว่า การกระทำในอดีตมักส่งผลต่อคนในอนาคตเสมอ ทั้งนี้คนในอนาคตเหล่านั้นในปัจจุบันก็คือ พวกเรา นั่นเอง

Sustainable Development Goals Ep.7 การสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน Part 1

            อีกปัญหาหนึ่งคือปัญหาขยะ ขยะล้นโลก ขยะที่เกิดจากการบริโภค ซึ่งผู้ผลิตมักจะไม่ใส่ใจ เพราะว่ามันพ้นออกจากขอบเขตของการขายผลิตภัณฑ์เสร็จสิ้นลงแล้ว ดังนั้นแนวคิดในการแสดงความรับผิดชอบเหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้องค์กรในภาคธุรกิจ หันมามองบทบาทตัวเองด้านความรับผิดชอบในแนวทางการแก้ปัญหาหลักๆ คือ การโอน ย้าย ถ่ายเท ทรัพยากรเหล่านี้ ให้มีเจ้าของ อาจจะใช้กฎระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับ หรือการกำหนดขอบเขตของการแสดงความรับผิดชอบให้กับภาคธุรกิจก็ได้ ซึ่งแนวคิดการแสดงความรับผิดชอบนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้องค์กรในภาคธุรกิจหันมามองบทบาทความรับผิดชอบของตัวเอง แนวโน้มการถ่ายโอนความรับผิดชอบไปให้ภาคธุรกิจพบเห็นได้ในการขับเคลื่อนจากทั้งภาคสังคมและภาครัฐค่ะ