โดย ผศ.ดร.พราวพรรณ ธารสิทธิ์พงษ์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จ ควรจะถูกผลักดัน ด้วยแรงกระเพื่อมทั้งหมด 4 ชนิด คือ รู้ จูงผลัก และข้อที่ 4 คือการกด
แนวคิดถัดมา คือ การออกแบบความยั่งยืนทั้งวัฏจักร แนวคิดนี้คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตั้งแต่ต้น โดยวางเป้าหมาย ให้การออกแบบผลิตภัณฑ์นี้เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้งาน และเพื่อการแยกชิ้นส่วนออกมา การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการแยกชิ้นส่วนเป็นการบอก ว่ามูลค่าที่จะเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์หลังจากการใช้งาน จะเป็นเท่าไหร่ มูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่จะถูกนำไปรีไซเคิลกลับมาจะได้เป็นเท่าไหร่ แล้วก็คำนึงถึงค่าใช้จ่าย ที่ใช้ในการแยกส่วนประกอบ แล้วก็บอกกล่าวถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากต้องมีการทำลายผลิตภัณฑ์นี้ลง

แนวคิดนี้เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง ที่หากว่าธุรกิจ เริ่มสนใจ มีการริเริ่มการใช้ข้อมูลเพื่อเชิญชวนให้ผู้บริโภคเล็งเห็นถึงคุณค่า ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี และ สามารถสร้างมูลค่าหลังจากการใช้งาน ไม่ให้ผลิตภัณฑ์นั้น กลายเป็นขยะของโลกเราได้ ผู้บริโภคก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
อีกไอเดียหนึ่งเป็นการสรรหาทรัพยากรรูปแบบใหม่ๆ เช่น การใช้ใยธรรมชาติมาปรับให้เป็นผลิตภัณฑ์ เช่น วัสดุตัวถังรถยนต์ หรือการใช้ใยคาร์บอนไฟเบอร์มาผลิตเป็นตัวถังเครื่องบิน ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุนแล้ว ยังลดน้ำหนักที่ทำให้สิ้นเปลือง ทรัพยากรเชื้อเพลิงลงได้อีกด้วย

ดังนั้นธุรกิจที่ยั่งยืน เป็นธุรกิจที่ควรจะถูกสร้างระบบนิเวศเข้าไว้ร่วมกัน สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ผลิตผู้บริโภคภาครัฐ ผู้กำกับดูแลระบบเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงการสร้างเครือข่ายที่ทำให้ทุกคนได้เป็นส่วนหนึ่ง ของการแบ่งปัน ความรู้แบ่งปันข้อมูล แบ่งปันเทคโนโลยี เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ หรือแม้แต่แบ่งปันแนวคิดใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดกิจกรรมการลดการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มให้เป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สรุปแล้ว โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนคืออะไร โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนที่จะประสบความสำเร็จ ควรจะถูกผลักดัน ด้วยแรงกระเพื่อมทั้งหมด 4 ชนิด ข้อแรกคือ รู้ – สร้างการตระหนักรู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเพื่อสร้างความเข้าใจ แล้วก็ความเชื่อมโยงทางอารมณ์ ข้อที่สอง คือ จุง – สร้างแรงจูงใจ สร้างตัวชี้นำโดยสร้างตัวอย่างที่สามารถทำให้คน เข้าถึงผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนได้ง่าย ข้อที่สาม คือผลัก – ผลักดันให้ภาครัฐทำงานหนักขึ้น ด้วยกฎระเบียบและสิ่งจูงใจของรัฐบาล เช่น การลดภาษีการสนับสนุนรายได้ให้กับภาคเอกชน และข้อที่สี่ คือ การกด – สร้างแรงกดดันจากลูกค้าเราเอง ดึงดูดค่านิยมค่านิยมเชิงบวก สร้างแรงเสริมเชิงบวก เพื่อให้ทำงานร่วมกับระบบนิเวศ ความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และนี่เองก็เป็นบทสรุปของการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน สวัสดีค่ะ