โดย ผศ.ดร.พราวพรรณ ธารสิทธิ์พงษ์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
การสร้างเครื่องแยกชิ้นส่วนแบบอัตโนมัติที่สามารถแยกชิ้นส่วนเล็กๆ ออกมา ชิ้นส่วนที่ถูกแยกประกอบ สามารถเอามาประกอบเข้าใหม่เป็นโทรศัพท์รุ่นใหม่ได้ เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การผลิตครั้งใหม่คล่องตัวมากขึ้น แล้วก็เป็นการลดต้นทุนรวมของชิ้นส่วนที่มีราคาแพงค่ะ

ในบริบทของความยั่งยืน ความรับผิดชอบต่อสังคม มักจะเป็นยาขมของภาคธุรกิจทั้งนั้น หากไม่เป็นการผลักดันด้วยกฎหมาย เราจะมีทางใดบ้างที่จะทำให้ภาคธุรกิจเชื่อในความเปลี่ยนแปลงนี้
เหตุใดจึงเป็นยาขม ส่วนใหญ่ภาคธุรกิจมองการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นต้นทุนของตัวเอง การถูกกำกับดูแลให้ควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบทางผลิตภัณฑ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เป็นความรับผิดชอบที่เป็นต้นทุนทั้งนั้น แต่ในความจำเป็นนี้ เมื่อทรัพยากรถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองไม่คิดเผื่อถึงคนรุ่นหน้า ก็ไม่ต่างจากคำว่าไม่มีฉันก็ไม่มีเธอ ในความหมายที่ว่าโลกของเราก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ธุรกิจเองก็ไม่ สามารถเติบโตได้เช่นกัน

ดังนั้นความเข้าใจร่วมกันในการเล็งเห็นถึงปัญหาที่แท้จริง เกิดจากทั้งแรงผลักและแรงส่งในทั้งส่วนของอุปทาน แล้วก็ส่วนของอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างหนึ่งที่ดีทีเดียว สำหรับภาคธุรกิจที่แสดงความรับผิดชอบ คือ การสร้างเครื่องแยกชิ้นส่วนของบริษัทแอปเปิ้ล ชื่อเจ้าหุ่นยนต์เดซี่ค่ะ เจ้าหุ่นยนต์เดซี่ใช้ระบบเอไอในการ คัดแยกชิ้นส่วนแบบอัตโนมัติที่สามารถที่จะแยกชิ้นส่วนเล็กๆ ออกมา ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอไมโครชิปหรือชิ้นส่วนเล็กๆน้อยๆ ของโทรศัพท์รุ่นเก่าออกมาได้อย่างรวดเร็ว และเจ้าเครื่องนี้สามารถจัดระเบียบชิ้นส่วนในปริมาณมากได้อย่างแม่นยำ ชิ้นส่วนเหล่าเนี้ย ถูกนำเข้ามาประกอบเป็นโทรศัพท์รุ่นใหม่ ซึ่งทำให้เกิดเป็นการสร้างเทคโนโลยีที่เป็น ความเชี่ยวชาญของกลุ่มอุตสาหกรรมเอง เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การผลิตครั้งใหม่คล่องตัวมากขึ้น แล้วก็เป็นการลดต้นทุนรวมของชิ้นส่วนที่อาจจะขาดแคลนหรือมีราคาแพง เช่น ชิพ เป็นต้น

ในด้านแรงผลักดันจากผู้บริโภค งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการรับรู้ แล้วก็มีความต้องการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากเราแปะฉลากแจ้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลกระทบนี้ ทำให้โลกรวน จะช่วยเปลี่ยนใจผู้บริโภคให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกระทบน้อย พบเจอได้ในตัวอย่าง ฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร บรรจุภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปอาหาร ซึ่งเรามองเห็นเค้าว่า แรงผลักดันนี้ จะพบเห็นได้มากขึ้นตามท้องตลาดในอนาคต เป็นการส่งถ่ายข้อมูลความยั่งยืนผ่านไปยังการตัดสินใจ ของผู้บริโภคค่ะ