660227bcg banner

“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security

“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security

“BCG พอเพียง” Series EP:4

ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security 

จังหวัดยโสธร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ สกลนคร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม

โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา 

ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง

          กลุ่มชาวนารุ่นใหม่ที่รวมตัวกันทำนาแบบดั้งเดิม เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ขยายแนวคิดการทำเกษตรอินทรีย์อย่างประณีต มุ่งสร้างความตระหนักเรื่องความมั่นคงทางอาหาร และการพึ่งพาตนเอง

จุดเริ่มต้น

               ในขณะที่การทำเกษตรกรรมในภาคอีสานของไทยมีภาพลักษณ์ของการต้องดิ้นรน ภัยแล้งและน้ำท่วม ผืนดินแห้งแล้ง ขาดแคลนแรงงาน ราคาผันผวนและต้นทุนการผลิตสูง กลุ่มชาวนาไทอีสาน โดยเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดเดียวกัน 15 คน ได้เปิดตัวรูปแบบการทำการเกษตรแบบยั่งยืนและพึ่งตนเอง ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพบนพื้นฐานวัฒนธรรม ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์เทคนิคการทำนาแบบดั้งเดิมและธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชน เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ  

วิถีพอเพียง

               สำหรับชาวนาไทอีสาน เกษตรกรรมคือวิถีชีวิต ไม่ใช่แค่วิถีทางในการทำธุรกิจ “การมีเมล็ดพันธุ์ของเราเอง ที่ดินของเรา ที่อยู่อาศัยของเรา คือหนทางสู่ความมั่นคงทางอาหาร” แก่นคำกล้า พิลาน้อย ผู้ก่อตั้งชาวนาไทอีสาน “การเป็นชาวนาที่แท้จริง คือการที่เราสามารถอนุรักษ์ คัดเลือก และพัฒนาข้าวได้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง” สมาชิกกลุ่มร่วมกันก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 9 ดี (09D) เผยแพร่องค์ความรู้ ‘ทำอยู่ทำกิน’ (ข้าว ผ้า ยา บ้าน) รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ์ข้าวในท้องถิ่นและสายพันธุ์พืชตามธรรมชาติที่ยังไม่ได้ใช้ ไม่ว่าชาวนาไทอีสานจะปลูกเพื่อเลี้ยงชีพ ขายข้าวและผลิตผลอื่นๆ หรือถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำนา ล้วนมีจุดมุ่งหมายเรื่องการพึ่งพาตนเองตามศักยภาพ ผลิตพอกินพออยู่ และความพยายามในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม

พันธกิจทางสังคม

               เป้าหมายส่วนตัวและความสนใจของสมาชิกกลุ่มมีความหลากหลาย บางคนคิดที่จะเจาะตลาดต่างประเทศ ในขณะที่บางคนมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ท้องถิ่นของตน คนึงนิจ ผู้ก่อตั้ง 09D ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลิตเพื่อบริโภคเองเป็นหลัก และจำหน่ายผลผลิตเกินที่ดีต่อสุขภาพและอร่อย ผ่าน Social Media ให้ลูกค้าในเมือง ในขณะที่ รติกร ที่บ้านป่านาคำ จังหวัดสกลนคร วางแผนที่จะเปิดโฮมสเตย์เพื่อให้ผู้มาเยือนสามารถใช้เวลาคุณภาพในการสำรวจพันธุ์ไม้หายากที่เติบโตในป่า หรือสัมผัสประสบการณ์การปลูกพืชออร์แกนิก 

                แม้ว่าจะเดินบนวิถีพอเพียงที่แตกต่างกัน – แต่ชาวนาไทอีสานล้วนมีสำนึกในพันธกิจทางสังคมร่วมกัน คือจะช่วยกันดูแลและเก็บเกี่ยวพืชผล ประชุมกันเป็นประจำเพื่อแบ่งปันวิธีการเพาะปลูก พวกเขาร่วมกันสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ที่มีการจัดระเบียบอย่างดี เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อนุรักษ์ไว้ โดยเชื่อว่าเป็นการสร้าง ‘อำนาจอธิปไตยของเมล็ดพันธุ์’ 

          ท่านใดสนใจรายละเอียด สามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ “Thailand’s BCG Transformation: 40 Case Studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” หน้า 160-165 ข้างล่างได้เลยค่ะ 

#SDG1 #SDG2 #SDG15 #SuDSESC #Nida  #NIDAThailand 

“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security
“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security
“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security
“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security
“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security
“BCG พอเพียง” Series EP:4 ชาวนาไทอีสาน Sowing the Seeds of Food Security