
BCG พอเพียง” Series EP:6 เมด อิน สงขลา – A Second Spring for Songkhla
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการต่อยอดของดีในย่านเมืองเก่าสงขลา บนแนวคิดการพัฒนาทุนทรัพยากรเดิมผ่านมุมมองใหม่และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างเข้มแข็งท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
จุดเริ่มต้น
ตั้งแต่โบราณ สงขลาเป็นเมืองท่าสำคัญของภูมิภาคที่เชื่อมอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา ท่าเรือแห่งนี้ดึงดูดพ่อค้าจากจีนไปทางอินเดียและตะวันออกกลาง กะลาสีเรือและพ่อค้าบางคนได้ลงหลักปักฐานที่นี่ ก่อให้เกิดการหล่อหลอมความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทักษะและภูมิปัญญาหลากวัฒนธรรม มรดกที่ซับซ้อนนี้เห็นได้ชัดในเขตเมืองเก่า ถนนนครนอก ถนนนครในและถนนนางงาม
‘Made in Songkhla’ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง TCDC กับหอศิลป์ในพื้นที่ ในปี 2564 เพื่อช่วยให้ธุรกิจดั้งเดิมในย่านเมืองเก่า ก้าวทันโลกร่วมสมัย โครงการระยะเวลา 6 เดือนนี้ จับคู่ร้านค้าเก่าแก่ในเขตเมืองเก่ากับนักออกแบบสมัยใหม่ หาโซลูชันแก้ปัญหาทางธุรกิจ โดยใช้จุดเด่นจากประวัติศาสตร์พหุวัฒนธรรมของสงขลาอันเป็นรากฐานที่มั่งคั่งในการสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไปสู่โอกาสทางการค้าที่ยั่งยืนและพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจย่านใกล้เคียงที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
ตัวอย่าง Solutions
- ฮับเซ่ง ร้านกาแฟยามเช้าสไตล์จีนไหหลำ และ แต้เฮี้ยงอิ๊ว ร้านอาหารจีนแต้จิ๋ว ที่ต้องปิดชั่วคราวในช่วงโควิด-19 ได้รับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่สะดวกสำหรับการจัดส่ง
- ไอติมบันหลีเฮง ร้านไอติมถั่วเขียวสูตรโบราณ เริ่มนำเสนอไอศกรีมแท่งที่ถือและรับประทานได้สะดวก รวมถึงไอศกรีมโฟลต
- ร้านขายของฝากท้องถิ่น เต้าหู้ยี้เสวย มีบรรจุภัณฑ์ใหม่แบบบีบที่สะดวกในการบริโภค และผลิตภัณฑ์หลากหลายขึ้น เพื่อเป็นของฝากพิเศษสำหรับครอบครัวและเพื่อนฝูง
- สินอดุลยพันธ์ ร้านขายของฝากเก่าแก่ ได้เปิดตัวชุดตะกร้าสินค้าที่โดดเด่น รวมถึงหนังสือเล่มเล็กที่บอกเล่าประวัติของร้าน
- งี่เทียนถ่อง ร้านขายยาสมุนไพรไทยจีนอายุกว่า 100 ปี เพิ่มผลิตภัณฑ์ของฝากจากสมุนไพรที่ใช้เฉพาะในอาหารท้องถิ่น
ความหวังและความท้าทาย
ณฐธรรม โรจนานุสรณ์ จาก ณ สตูดิโอ สะท้อนว่า “การที่ธุรกิจท้องถิ่นเหล่านี้อยู่มาหลายทศวรรษ พิสูจน์ว่าต้องมีอะไรที่พิเศษ ซึ่งเราต้องไปที่ไซต์และทำงานร่วมกับเจ้าของร้านเพื่อค้นหาสิ่งนั้น และผมหวังว่าเจ้าของร้านจะนำประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานร่วมกัน ไปปรับใช้พัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นในอนาคต” ส่วน ศรัณย์ เย็นปัญญา จาก 56th Studio อ้างวลีของ Albert Camus “ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูใบไม้ผลิที่สอง เมื่อใบไม้ทุกใบเป็นดอกไม้” ศรันย์มองว่า “การเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้น แต่ในวิถีทางที่สะท้อนถึงการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน และสร้างความเป็นไปได้ในอนาคตสำหรับสงขลา”
#SDG8 #SDG10 #SDG17
#SuDSESC #Nida #NIDAThailand
ท่านใดสนใจรายละเอียด สามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ “Thailand’s BCG Transformation: 40 Case Studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” หน้า 198-201 ข้างล่างได้เลยค่ะ


