โดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาที่ซับซ้อนในการพัฒนาสุขภาพ ภายใต้สถานการณ์ที่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบท หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเสนอแนวทางที่ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม การแบ่งปันความรู้ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในขณะที่กลยุทธ์ BCG มุ่งเน้นไปที่การยกระดับการพัฒนาพื้นที่และเศรษฐกิจ
- ความท้าทายในการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
▫️ โรคไม่ติดต่อ (NCDs) หรือโรคเรื้อรังคร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งประเทศ
▫️ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ ประชากรประมาณ 13 ล้านคน หรือร้อยละ 20 มีอายุเกิน 60 ปี การพัฒนาสุขภาพในปัจจุบัน เช่น การดูแลสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ และบริการ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับสังคมสูงวัยดังกล่าว โดยมุ่งเน้นไปที่ระดับจุลภาค – บุคคล ครอบครัว และชุมชน – และ สร้างกิจกรรมที่ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมกับสังคม
2. เป้าหมายหลักด้านการดูแลสุขภาพของกลยุทธ์ BCG
▫️ การผลิตแบบพึ่งพาตนเอง ในฐานะผู้นำเข้าและส่งออกเครื่องมือแพทย์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน BCG มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการพึ่งพาตนเองในการผลิตทางการแพทย์ ผ่านการผลิตยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายในประเทศ ช่วยให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ดีขึ้นในราคาสมเหตุสมผล
▫️ พัฒนาแนวทางปฏิบัติและรูปแบบการรักษา ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในหลักการและเวชปฏิบัติทางการแพทย์แผนจีน อายุรเวช และแผนไทยได้ดีขึ้น
▫️ เป็นศูนย์บริการและวิจัยด้านสุขภาพ ประเทศไทยจึงอยู่ในสถานะที่ดีในการพัฒนา R&D โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความช่วยเหลือของแพลตฟอร์มดิจิทัล
3. ตัวอย่าง Solutions
ยุทธศาสตร์หลักของ BCG คือการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ให้มีการรวมพลังกันและอำนวยความสะดวกให้ชุมชนสามารถตัดสินใจปัญหาและแนวทางแก้ไขของตนเองได้
BCG Series เดือนกรกฎาคม จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับโรงพยาบาลชุมชนที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและกลยุทธ์ BCG โดยนำเสนอตัวอย่าง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 4 แห่ง (จากทั้งหมด 21 แห่ง) ที่เป็นแบบอย่างของโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่เพียงแต่จะให้บริการผู้ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารด้านการดูแลสุขภาพ แต่ยังใส่ใจการพัฒนาคุณภาพชีวิตในแนวทางที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น
SuDSESC #Nida #NIDAThailand
ท่านใดสนใจรายละเอียด สามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ “Thailand’s BCG Transformation: 40 Case Studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” หน้า 248-251 ข้างล่างได้เลยค่ะ



