
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง หรือเรียกว่า “ศยพ.” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Sustainable Development and Sufficiency Economy Studies Center, National Institute of Development Administration หรือ “SuDSESC” เป็นการบูรณาการระหว่าง ศูนย์ศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน กับ ศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา เพื่อมุ่งศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ สนับสนุนและส่งเสริม รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ ให้บริการวิชาการ การฝึกอบรม การเป็นที่ปรึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และอื่น ๆ
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานดังนี้
1. Research เป็นศูนย์กลางการศึกษา ข้อมูลองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การประยุกต์ใช้ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง และการศึกษาการบริหารการพัฒนาประชาคมอาเซียนและกลุ่มประเทศในเอเชีย
2. Training จัดการศึกษา ฝึกอบรม และให้บริการวิชาการแก่สังคมในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
ที่ยั่งยืน การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการศึกษาการบริหารการพัฒนาประชาคม
อาเซียนและกลุ่มประเทศในเอเชีย
3. Networking สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ การสร้างเครือข่าย และ การแลกเปลี่ยน
ความรู้ภายในประเทศและต่างประเทศ
4. Gateway เผยแพร่และรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ
การพัฒนาที่ยั่งยืน และ การศึกษาประชาคมอาเซียนและกลุ่มประเทศในเอเชียในการบูรณาการศาสตร์
การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับ
Research
ศูนย์กลางการศึกษา ข้อมูล องค์ความรู้
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Training
จัดการศึกษาอบรมและให้บริการ
วิชาการแก่สังคม
Network
ร่วมมือทางวิชาการสร้างเครือข่ายและ
แลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในและต่างประเทศ
Knowledge Gateway
ส่งเสริม เผยแพร่และรวบรวม
องค์ความรู้
SuDSESC ได้ดำเนินงานภายใต้โครงการต่างๆ และสัมมนาวิชาการมากมาย อาทิ
บริการวิชาการ
โครงการฝึกอบรมบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หลักสูตร : การเตรียมความพร้อม องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ยุคใหม่ : พลิกโฉมองค์กรเพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชน
หน่วยศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน มีผลงาน ดังนี้
(1) โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนากลไกการขยายผลศาสตรพระราชาและเกษตรทฤษฎีใหม่
แบบบูรณาการและการทดลองเชิงปฏิบัติการ ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดศรีสะเกษ
(2) โครงการ Sufficiency Living Cases in BCG Model
(3) Sustainable Recovery: Resilience, Inclusion and Green – ถอดบทเรียนจากการปฏิบัติที่ เป็นแบบอย่างสู่หลักวิชาการเพื่อการขยายผลในวงกว้าง
(4) งานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยปรัชญาพอเพียง
(5) องค์กรภาครัฐและชุมชนต้นแบบด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(6) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสถาบันอุดมศึกษา
(7) Sufficiency Talk Series เสวนาหัวข้อ นิด้ากับเศรษฐกิจพอเพียง และ
(8) การประชุมวิชาการ “15 ปี จากวิกฤตเศรษฐกิจ: เศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืนของสังคมไทย”
หน่วยอาเซียนและเอเชียศึกษา มีผลงาน ดังนี้ ตำรา : การเมืองเปรียบเทียบ และรัฐประศาสนศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรมเปรียบเทียบอาเซียน การท่องเที่ยว : โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง CLMV อาชีวะ : แผนบูรณาการ เรื่อง “การวิจัยทางนวัตกรรมเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ด้านการบริการมูลค่าสูง โดยส่งเสริมบุคลากรสายอาชีวศึกษาด้านการท่องเที่ยวและภาคบริการ
ของพื้นที่ชายแดน ไทย-กัมพูชา เพื่อการท่องเที่ยวที่แข่งขันได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” China Study : แผนบูรณาการ เรื่อง “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการกระจายความเจริญและเมืองน่าอยู่ของไทย และกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อพัฒนาภูมิภาค: บริบทขององค์กรเอกชนที่มีผลต่อการขยายการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบกและทางน้ำของจีน
ตามนโยบาย “จีนลงใต้” เยาวชน : ผู้นำเยาวชนอาเซียน และ Learning and Innovation Skills – 4 Cs การเมือง : นโยบายส่งเสริมและพัฒนา “อุตสาหกรรมสีเขียว” และ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

ติดต่อ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยังยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ ชั้น 10 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240