นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ

นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน – พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

  เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2564 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล บูรณาการองค์ความรู้ และงานวิจัย ที่จะช่วยยกระดับ พัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย

ซึ่งทางนิด้านำโดย ศาสตราจารย์ ดร. กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แสงแข บุญศิริ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว เป็นผู้ลงนามในความร่วมมือ และทางฝั่งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ได้รับเกียรติจาก คุณชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ว่าที่ ร.ต. เอนก นุรักษ์ รองประธานฝ่ายวางแผนและพัฒนา สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในความร่วมมือ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. กนกกานต์ แก้วนุช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนานาชาติ และอาจารย์ประจำคณะการจัดการการท่องเที่ยว พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติจากทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสิริวัฒนภักดี อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

           ศาสตราจารย์ ดร. กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดีนิด้ากล่าวว่า หากพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่หนักสุดเท่าที่ประเทศไทยเคยเผชิญมา ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง Crisis , Subprime Mortgage Crisis และ Hamburger Crisis ผมเชื่อว่าเราทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น นับเป็น ‘ทัพหน้า’ หรือภาคส่วนสำคัญอันดับต้น ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้ แต่ในขณะที่วันนี้โลกของเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19  กลายเป็นว่าภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเคยเป็นฮีโร่ผู้กอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ กลับต้องเป็นด่านแรกที่ได้รับผลกระทบอย่างแสนสาหัส 

          ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ‘นิด้า’ มีคณะการจัดการการท่องเที่ยว และมีคณาจารย์หลายท่านดำรงตำแหน่งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นที่ยอมรับในวงการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ มนต์พานทอง คณบดีคณะการจัดการการท่องเที่ยว ได้ริเริ่มโครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบ Blockchain เพื่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจาก 4 ภาคส่วนสำคัญ (Quadruple Helix) ได้แก่ ภาครัฐ – ได้รับทุนหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) , ภาคเอกชน – ได้รับการสนับสนุนจาก Bitkub ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี Cryptocurrency และ Blockchain , ภาคการศึกษา – โดยความร่วมมือจากคณะบริหารธุรกิจ และ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สุดท้ายคือ ภาคชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการท่องเที่ยว ผมคิดว่างานวิจัยนี้จะเป็นต้นแบบของการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยการพัฒนา Blockchain Medical Tourism Platform ควบคู่กับการใช้ Data Analytic , Strategic Foresight , Design Thinking เพื่อให้เกิดเป็น Innovation Policy

          “ผมคิดว่าเป็นโอกาสดีที่ ‘นิด้า’ จะได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการ สร้าง Tourism Future LAB เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ทิศทาง และเทรนด์ด้านการท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยยกระดับ สร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้สามารถพลิกฟื้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ให้กลับมาเข้มแข็ง เติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นกำลังสำคัญหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป”

          ด้าน คุณชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คือที่ที่ผู้มีประสบการณ์ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านท่องเที่ยวมาอยู่รวมกัน ร่วมคิด ร่วมทำ คนรู้มากช่วยเหลือคนที่รู้น้อยกว่า ที่ผ่านมาพวกเราต่างเชื่อมั่นว่า ‘ภาคการท่องเที่ยว’ คือเครื่องมือที่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ดีที่สุด แต่วันนี้เรากลับถูกผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดอีกครั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 

          ความจริงแล้วอยากฉายภาพให้เห็นว่า การท่องเที่ยวของไทยได้ถูกผลกระทบสะสมมานานมากแล้วก่อน COVID-19 หลายธุรกิจถูก Disrupt อย่างมากเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิต ยกตัวอย่างเช่น Agency บริษัทนำเที่ยวต่างๆ เทคโนโลยีหลายๆ Platform ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้เข้ามาแทนที่ Agency ไม่ว่าจะเป็นการจองห้องพัก จองทัวร์ ทุกคนต่างพูดถึงแต่เทคโนโลยี แต่ไม่เคยมีใครกล่าวถึง Solution , DATA หรือเครื่องมือใดๆ ที่จะมาช่วย Support พวกเรา 

          ล่วงเลยมาจนถึงสถานการณ์ COVID-19 ผู้ประกอบการหลายรายฐานทุนเริ่มร่อยหรอ เข้าถึงแหล่งทุนไม่ได้ แต่ผมยังคงเชื่อมั่นว่าการท่องเที่ยวจะยังคงเป็นฮีโร่ในภาวะวิกฤตได้อีกครั้งแน่นอน เพราะในอดีตเราคือผู้นำด้านการท่องเที่ยว เราคือต้นแบบหรือ Model ให้กับหลายๆ ประเทศทั่วโลก แต่เราถูกหยุดชะงักไปพักใหญ่เพราะไม่มีนวัตกรรมใหม่ใดๆ ออกมาในวงการท่องเที่ยว เราอาจเดินหน้ามาได้เพราะภาคเอกชนแข็งแรง หรือเพราะประเทศไทยยังคงมีความพร้อมด้านวัตถุดิบ หรือทรัพยากรอยู่มาก แต่วันนี้ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเดินหน้าถอดบทเรียนด้านการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง และผู้ที่จะช่วยเราได้ดีที่สุดก็คือ สถาบันการศึกษา หรือ ‘นิด้า’ เราจำเป็นต้องใช้ DATA ข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย ที่จะมาช่วยนำพาพวกเราออกจากกับดัก หรือวิกฤตเหล่านี้  

          “วันนี้ผมมีความสุขมากๆ ที่ได้มีโอกาสร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ท่านสามารถนำข้อมูลของพวกเราไปช่วยคิดวิเคราะห์ พัฒนา ต่อยอด ทำให้พวกเราสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง โดยเราพร้อมจะนำการถอดบทเรียน ข้อมูล หรืองานวิจัยต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้มาศึกษา ปรับตัว เสริมแกร่ง เพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวของประทศไทยกลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง”

นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
นิด้า – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ลงนามความร่วมมือ ยกระดับมาตรฐาน - พลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย