เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 นำโดย คณะนักศึกษาในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ภายใต้ผู้ดูแล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แสงแข บุญศิริ อาจารย์ประจำคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านครูแดง เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกคุณนวลจันทร์ รอดสการ ประธานศูนย์การเรียนรู้บ้านครูแดงและคุณแสง บุญทูล ผู้ดูแล เกี่ยวกับประเด็นปัญหา และความต้องการของพื้นที่ เพื่อนำไปต่อยอดเป็นกิจกรรมท่องเที่ยว
ที่มีเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้เชิงเกษตร การประกอบสัมมาชีพ และวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 5 มิติ เจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อก่อให้เกิดรายได้ และความยั่งยืนในพื้นที่ชุมชน จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกพบว่า
ชื่อกลุ่มองค์กรชุมชน : ศูนย์การเรียนรู้บ้านครูแดง
ที่อยู่ : 23/2 ถนน เลียบวารี แขวง โคกแฝด เขต หนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
ทรัพยากรในพื้นที่ : องค์ความรู้เชิงเกษตร การประกอบสัมมาชีพ และวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การทำไข่เค็มใบเตย ไข่เค็มต้มยำ การปลูกผักไฮโดโปรนิกส์ การปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ ปลา ไก่ ห่าน เห็ด หอยเชอรี่สีทอง การทำปุ๋ยไส้เดือน และฐานการเรียนรู้การประกอบอาชีพ
ปัญหาที่พบ : บริบทพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สอนอาชีพและให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ และมีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติที่ได้ทำการผลิตเอง จึงทำให้นักท่องเที่ยวหรือบุคคลที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้เป็นระยะเวลาพอสมควร แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และกลุ่มองค์กรยังขาดทักษะในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งมีโฮมสเตย์สำหรับที่ให้นักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางมาพักอาศัย ยังคงขาดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์และการเรียนรู้เชิงเกษตรกับทางศูนย์การเรียนรู้ จึงทำให้ขาดทักษะองค์ความรู้ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ให้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยว และมีฐานกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาไปกับชุมชนด้วยในชุมชนมีแหล่งเรียนรู้และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเรียนรู้และเป็นที่รู้จักท่องเที่ยวได้
ประเด็นในการพัฒนา :
1. อบรมนักสื่อความหมาย เพื่อให้ผู้นำชุมชนและคนในชุมชนรู้จักบริบทพื้นที่มากขึ้น
2. พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ในการรองรับนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม
3. พัฒนาใน 5 มิติ (5A) ด้านที่พัก สิ่งดึงดูดใจ การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก และกิจกรรม
4. ให้ความรู้ในเรื่องช่องทางการตลาดออนไลน์ (Webpage)
5. การจัดทำหนังสืออิเล็คทรอนิค (E-book) เพื่อรวบรวมข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้บ้านครูแดง
6. การปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบศูนย์การเรียนรู้และในศูนย์การเรียนรู้ เพื่อรองรับการท่องเที่ยว
7. การสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้กับศูนย์การเรียนรู้บ้านครูแดง
ความต้องการในพื้นที่ : ศูนย์การเรียนรู้บ้านครูแดง เน้นการสอนการการเรียนรู้วิถีชีวิต การเกษตรและหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับผู้ที่มาศึกษาดูงาน อีกทั้งสอดแทรกแนวความคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในการสร้างประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยวในการได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาไปกับศูนย์การเรียนรู้บ้านครูแดง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างอาชีพให้แก่สมาชิกในชุมชนเพิ่มขึ้น
2. เพื่อก่อให้เกิดการสร้างรายได้และการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
3. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และคุณภาพชีวิตที่ดี
4. เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสามารถต่อยอดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
5. เพื่อจัดการแหล่งท่องเที่ยวในมิติของพื้นที่และการบริหารจัดการบุคลากรทางการท่องเที่ยวได้
6. เพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และช่องทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์




